ขี้เหล็กฤาษี สามารถนำมาทำเป็นไม้ประดับกระถางคล้ายบอนไซ

ขี้เหล็กฤาษี

ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กฤๅษี (สระบุรี)  ไอ้เทา (เพชรบุรี) พระยางู, ว่านงู, มะยมเงินมะยมทอง

ต้นกำเนิด : ในไทยพบกระจายยกเว้นภาคใต ้ขึ้นตามเขาหินปูนที่แห้งแล้ง ความสูงไม่เกิน 1000 เมตร

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus mirabilis Mull.Arg.

ชื่อวงศ์ : Phyllanthaceae

ลักษณะของขี้เหล็กฤาษี

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ประมาณ 12 ม. โคนต้นมักอวบน้ำ ลำต้นเกลี้ยง

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบรูปขอบขนาน ยาว 6.5-13 ซม. ปลายใบแหลม โคนรูปหัวใจ เบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบมีขนสั้นนุ่มทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบ 10-12 คู่ ใบที่มีดอก (orthotropic shoot) มีขนาดใหญ่คล้ายเป็นช่อดอก ใบคล้ายใบประดับ รูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาวได้ประมาณ 2 ซม.

ดอก ดอกออกเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่กระจุกเดียวกัน ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้มีหลายดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ มีปุ่มเล็กๆ คล้ายขน กลีบรูปรี ยาวประมาณ 0.3 ซม. ปลายแหลม มีรยางค์ยาว ก้านดอกยาว 0.1-0.2 ซม. จานฐานดอกเป็นต่อม 5 ต่อม รูปกระบอง เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรติดกันเป็นเกสรสั้นๆ อับเรณูยาว 0.6-0.8 มม. ปลายมีรยางค์ยาว ดอกเพศเมียมีดอกเดียว ก้านดอกยาว 0.2-0.3 ซม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 0.5 ซม. มีปุ่มคล้ายขน จานฐานดอกเป็นต่อม 6 ต่อม รูปกระบองแคบๆ ย่นเล็กน้อย ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรแยกเป็น 3 แฉกยาวประมาณ 0.1 ซม. แต่ละแฉกหยักลึก

ผล ผลแบบแคปซูล รูปรี เกือบกลม มี 3 พู ยาวประมาณ 1 ซม.

ต้นขี้เหล็กฤาษี
ต้นขี้เหล็กฤาษี ใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม
ผลขี้เหล็กฤาษี
ผลขี้เหล็กฤาษี ผลสีเขียว มี 3 พู

การขยายพันธุ์ของขี้เหล็กฤาษี

ธาตุอาหารหลักที่ขี้เหล็กฤาษีต้องการ

ประโยชน์ของขี้เหล็กฤาษี

ไม้ดอกไม้ประดับ นำมาทำเป็นไม้ประดับกระถางคล้ายบอนไซ

ไม้ประดับ
ขี้เหล็กฤาษี นำมาทำบอนไซ

สรรพคุณทางยาของขี้เหล็กฤาษี

  • ราก นำมาโคลกคั้นกินน้ำ เป็นยาถ่ายพยาธิและริดสีดวงงอกในทวาร
  • ใบ นำมาต้มอาบแก้โรคผิวหนัง หิด ผื่นคัน อมแก้ปวดฟัน
  • ใบ นำมาอังไฟ เอาน้ำหยดหู แก้โรคน้ำหนวกและปวดหู

คุณค่าทางโภชนาการของขี้เหล็กฤาษี

การแปรรูปของขี้เหล็กฤาษี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11080&SystemType=BEDO
https:// www.dnp.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment