ขี้เหล็ก ผักพื้นบ้านนำไปทำอาหารกินใบกินดอก ต้นเป็นไม้ประดับให้ร่มเงา
ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลางบางที่), ผักจี้ลี้ (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), ยะหา (มาเลย์-ปัตตานี) และขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea Lam
ชื่อวงศ์ : Leguminosae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Cassia Tree,Thai Copper Pod
ลักษณะของขี้เหล็ก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำ ยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็น แบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยง ดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อัน ผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น ในตำราการแพทย์แผนไทยได้มีการบันทึกประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
การขยายพันธุ์ของขี้เหล็ก
ใช้เมล็ด/โดยวิธีธรรมชาติ เมล็ด
ประโยชน์ของขี้เหล็ก
- ประโยชน์ของขี้เหล็กในหลายด้าน เช่น ใช้แก้อาการท้องผูก ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ใช้ทำความสะอาดเส้นผม ทำให้ผมชุ่มชื่นเป็นเงางาม ไม่มีรังแค ช่วยเจริญอาหาร บำรุงน้ำดี และบำรุงโลหิต เป็นต้น
- พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดชัยภูมิ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของขี้เหล็ก
- ราก แก้ไข้ รักษาโรคเหน็บชา
- เปลือก แก้ริดสีดวง
- แก่น แก้ไข้ รักษากามโรค
- ใบอ่อนและดอก ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบ่ายอ่อนๆ แก้ท้องผูก แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ลดความดัน ทำให้นอนหลับ
- ใบและดอกขี้เหล็กทำให้เกิดอาการง่วงซึมและมีพิษน้อยกว่าสมุนไพรชนิดอื่นๆ ที่ได้ศึกษา ต่อมาจึงมีผู้ศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดใบขี้เหล็กอีกครั้งโดยใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวทำละลาย พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง เพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยน็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าสามารถสกัดสารชนิดใหม่จากใบขี้เหล็กได้ โดยตั้งชื่อว่าบาราคอล (barakol)
คุณค่าทางโภชนาการของขี้เหล็ก
ขี้เหล็ก,ดอก ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ
– วิตามินเอ ( Total VitaminA (RE) ) 39 Ug
– เบต้า เคโรทีน ( Betacarotene ) 233 Ug
– วิตามินบี 1 ( Thiamin ) .11 Mg
– ไนอะซิน ( Niacin ) 1.8 Mg
– วิตามินซี ( VitaminC ) 484 Mg
– พลังงาน ( Energy ) 98 KCAL
– น้ำ ( Water ) 74.7 G
– โปรตีน ( Protein ) 4.9 G
– ไขมัน ( Fat ) .4 G
– คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) 18.7 G
– ใยอาหาร( กาก ) ( Crude/ Dietar ) 9.8 G
– เถ้า ( Ash ) 1.3 G
– แคลเซียม ( Calcium ) 13 Mg
– ฟอสฟอรัส ( Phosporus ) 4 Mg
– ธาตุเหล็ก ( Iron ) 1.6 Mg
References : www.bedo.or.th, www.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.panmai.com
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
6 Comments