ขึ้นฉ่าย นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว

ขึ้นฉ่าย

ชื่ออื่นๆ : ขึ้นฉ่าย (คื่นไฉ่) หรือ ขึ้นฉ่ายฝรั่ง คนไทยเรียกว่า ผักปืน, ผักปิ๋ม, ผักข้าวปืน, ฮั่งชื่ง, ขึ่งฉ่าย, ฮั่นฉิน, ฉันฉ้าย

ต้นกำเนิด : ทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ เช่น ประเทศสวีเดน แอลจีเรีย และประเทศอียิปต์

ชื่อสามัญ : Celery (เซเลอรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apium graveolens L.

ชื่อวงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE

ลักษณะของขึ้นฉ่าย

ต้น: เป็นพืชล้มลุก ต้นขึ้นฉ่าย (ขึ้นฉ่ายจีน) มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ส่วนต้นขึ้นฉ่ายฝรั่งจะมีความสูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ส่วนลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอมทั้งต้น มีอายุประมาณ 1-2 ปี และมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ ต้นสีขาว ต้นสีเขียว และต้นสีน้ำตาลเขียว

ใบ: ลักษณะของใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบสีเขียวอมเหลือง ใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปลิ่มหยัก ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก แต่ละแฉกอาจจะเป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรูปห้าเหลี่ยม ก้านใบยาวแผ่ออกเป็นกาบ ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่ใบคล้ายกับผักชี แต่ใบใหญ่กว่าและมีกลิ่นฉุน

ดอก: ดอกมีขนาดเล็กสีขาว เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแบบซี่ร่ม ตรงยอดดอกนั้นแผ่เป็นรัศมี

ผล: ผลมีลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็กมาก และมีกลิ่นหอม จะให้ผลเพียงครั้งเดียว

ต้นขึ้นฉ่าย
ต้นขึ้นฉ่าย ลำต้นมีลักษณะกลวง มีกลิ่นหอมทั้งต้น
ใบขึ้นฉ่าย
ใบขึ้นฉ่าย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ขอบใบหยักเป็นแฉกลึก

การขยายพันธุ์ของขึ้นฉ่าย

เพาะเมล็ด, ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขึ้นฉ่ายต้องการ

ประโยชน์ของขึ้นฉ่าย

เป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม นิยมใช้ในการปรุงอาหารที่ต้องการดับกลิ่นคาว หรือเพิ่มความหอมของน้ำซุป หรือ นำไปผัดเพื่อดับคาวปลา

ขึ้นฉ่ายสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนูเมนูขึ้นฉ่าย เช่น ปลาผัดขึ้นฉ่าย, ปลากะพงผัดขึ้นฉ่าย, ปลาทับทิมผัดขึ้นฉ่าย, ปลานิลผัดขึ้นฉ่าย, ขึ้นฉ่ายยำวุ้นเส้น, ผัดเต้าหู้ขึ้นฉ่าย, กะเพราหมูผัดขึ้นฉ่าย เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของขึ้นฉ่าย

มีโพแทสเซียมสูง ทำให้หลอดเลือดขยายตัว ช่วยลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคปวดข้อ เช่น รูมาติกและโรคเกาต์ มีโซเดียมอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับความเป็นกรดและด่างในเลือดให้สมดุล น้ำคั้นจากขึ้นฉ่ายมีสรรพคุณเป็นยากล่อมประสาท ทำให้รู้สึกสบาย และนอนหลับได้ดี การกินขึ้นฉ่ายจะทำให้อสุจิลดลงถึง 50% หลังจากยุติการกินแล้ว จำนวนเชื้ออสุจิจะเพิ่มกลับมาระดับปกติใน 8-13 สัปดาห์

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย

การแปรรูปของขึ้นฉ่าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10285&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment