ขุนไม้,พญาไม้
ชื่ออื่นๆ : ขุน, พญาไม้, เส่งโบลมิ้, เสม็ดบก, เหย่ดู
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ขุนไม้,พญาไม้
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nageia wallichiana (C. Presl) Kuntze.)
ชื่อวงศ์ : PODPCARPACEAE
ลักษณะของขุนไม้,พญาไม้
ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 30-50 ม. เปลือกเรียบ ลอกเป็นแผ่นขนาดใหญ่ ใบเรียงสลับตั้งฉาก รูปรีแกมใบหอก ขนาดประมาณ 10-18 x 3-5 ซม. แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 0.5-1 ซม. ปลายใบแหลม เส้นใบจำนวนมากเรียงขนานกัน ไม่มีเส้นกลางใบ โคนใบรูปลิ่ม แยกเพศต่างต้น โคนเพศผู้ออกเป็นกลุ่ม 1-7 โคน ตามซอกใบ ยาวประมาณ 1 ซม. ใบสร้างไมโครสปอร์รูปหอก ขนาดเล็ก ยาว 0.2-0.3 ซม. โคนเพศเมียส่วนมากออกเดี่ยวๆ ก้านยาวได้ประมาณ 2 ซม. ฐานรองเมล็ด (receptacle) อวบน้ำ มีสีดำเมื่อสุก เยื่อหุ้มเมล็ดสีม่วงหรืออมสีแดง เมล็ดกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-1.8 ซม.
การขยายพันธุ์ของขุนไม้,พญาไม้
ใช้เมล็ด
ขุนไม้มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบตั้งแต่บังคลาเทศ อินเดีย จีนตอนใต้ (ยูนาน) พม่า ภูมิภาคอินโดจีนและมาเลเซีย ถึงฟิลิปปินส์และปาปัวนิวกินี ในไทยพบกระจายห่างๆ แทบทุกภาค ขึ้นตามที่ลาดชัน สันเขา ในป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา ระดับความสูงจนถึงประมาณ 2000 เมตร
ธาตุอาหารหลักที่ขุนไม้,พญาไม้ต้องการ
ประโยชน์ของขุนไม้,พญาไม้
สรรพคุณทางยาของขุนไม้,พญาไม้
น้ำคั้นจากใบใช้บรรเทาโรคปวดตามข้อ
คุณค่าทางโภชนาการของขุนไม้,พญาไม้
การแปรรูปของขุนไม้,พญาไม้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10250&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com