ข่อย นิยมปลูกประดับเป็นรั้วและทำไม้ดัด

ข่อย

ชื่ออื่นๆ : ข่อย (ทั่วไป) ซะโยเส่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) ตองขะแหน่ (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี) ข่อย (ร้อยเอ็ด) สะนาย (เขมร)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Siamese Rough Bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streblus asper Lour.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของข่อย

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างคดงอเป็นปุ่มปม หรือเป็นพูเป็นร่องทั่วไป อาจขึ้นเป็นต้นเดียวหรือเป็นกลุ่ม แตกกิ่งต่ำ บางครั้งพบว่าเกือบชิดดิน เรือนยอดเป็นรูปวงกลม กิ่งก้านสาขามาก เปลือกสีเทาอ่อน เปลือกแตกเป็นแผ่นบางๆ มียางสีขาวเหนียวซึมออกมา

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับมีขนาดเล็ก รูปใบรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2 – 3.5 ซ.ม. ยาว 4 – 7 ซ.ม. เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสากเหมือนกระดาษทรายทั้งสองด้าน

ดอก ดอกออกเป็นช่อสีขาวเหลืองอ่อน ออกตามปลายกิ่ง ดอกเดี่ยวแต่รวมกันเป็นกระจุก ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน

ผล ผลสดกลม เมล็ดโตขาดเมล็ดพริกไทย มีเนื้อเยื่อหุ้ม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง ซึ่งมีรสหวาน นกจะชอบกินผลข่อย

ต้นข่อย
ต้นข่อย เปลือกสีเทาอ่อน กิ่งก้านสาขามาก
ใบข่อย
ใบข่อย เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวสาก

การขยายพันธุ์ของข่อย

การเพาะเมล็ด, การปักชำ
ซึ่งวิธีที่นิยมและได้ผลดีคือการปักชำ หรือจะขุดล้อมจากธรรมชาติมาปลูกเลี้ยงก็ได้ แต่ควรมีขนาดลำต้นไม่เกิน 3 เซนติเมตร เพราะหากโตกว่านี้จะเลี้ยงรอดยาก

การปลูก
หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดินร่วนอัตรา 1:1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุกๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นข่อย

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดจัดหรือกลางแจ้ง น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5–7 วัน/ครั้ง ดิน ดินร่วนซุย ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1–2 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปีละ 4–5 ครั้ง

ธาตุอาหารหลักที่ข่อยต้องการ

ประโยชน์ของข่อย

  • ยาง ใช้กำจัดแมลง
  • ไม้ทำกระดาษ ทำเป็นสมุดเรียกว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย
  • เชียงใหม่ ใช้มวนยาสูบ
  • กิ่งชาวอินเดียใช้สีฟัน ทำให้ฟันทน
  • ผลรับประทานได้ มีรสหวาน
  • นิยมปลูกประดับเป็นรั้วและทำไม้ดัด
ผลข่อย
ผลข่อย ผลกลม ผลแก่จัดจะมีสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของข่อย

  • เปลือก แก้ท้องร่วงรำมะนาด บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับลม ยาอายุวัฒนะ โรคผิวหนัง
  • ใบสดปิ้งไฟ ชงน้ำดื่มเป็นยาระบายอ่อน ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของข่อย

การแปรรูปของข่อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9528&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
https://th.wikipedia.org

One Comment

Add a Comment