ข่าป่า ไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน ช่อดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสด

ข่าป่า

ชื่ออื่นๆ : กุ๊ก ก๊า (คนเมือง) เพาะเก่อย่อ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) หล่อจะแล่ง (ลั้วะ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia zerumbet 

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของข่าป่า

ลักษณะทั่วไป ไม้ล้มลุก ลำต้น เหง้าอยู่ใต้ดิน แตกหน่อจากเหง้าใต้ดินขึ้นมาเป็นหน่อ และลำต้น ความสูงของลำต้น 2-3 เมตร สีเหลืองหัวเหมือนข่า แต่ขนาดใหญ่กว่ากลิ่นฉุน

ใบ ใบเป็นรูปไข่ยาวหรือรูปรีขอบขนาน ปลายใบแหลมคล้ายใบข่าบ้าน ขนาดกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีกาบใบหุ้มลำต้น

ดอก ดอกเป็นดอกช่อออกที่ยอด ก้านดอกยาว ดอกย่อยมีขนาดเล็กกลีบดอกสีขาวกระน้ำตาล โคนติดกัน เป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง

ผล ผลรูปร่างกลมรี เมื่อสุกเป็นสีส้มขนาด 5 มิลลิเมตร มีเมล็ดอยู่ภายใน

ข่าป่า
ข่าป่า ลำต้นมีเหง้าอยู่ใต้ดิน

การขยายพันธุ์ของข่าป่า

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การขยายแบบแยกเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่ข่าป่าต้องการ

ประโยชน์ของข่าป่า

  • ช่อดอกอ่อน รับประทานเป็นผักสด หรือลวก หรือนึ่ง จิ้มนํ้าพริก
  • ผลสุก รับประทานได้ รสหวานอมเปรี้ยว

สรรพคุณทางยาของข่าป่า

  • เหง้า แก้อากาท้องอืดเฟ้อ จุกเสียดแน่น
  • ต้น ใช้ต้มดื่มแก้โรคบิด ใบ นำมาโขลกทารักษาเกลื้อน
  • หัว นำมาโขลกและคั้นเอาน้ำผสมน้ำมะขามเปียกและเกลือเล็กน้อย ให้หญิงคลอดลูกดื่ม ช่วยขับเลือดเสีย เผ็ดรสร้อนแรง เพิ่มรสชาติให้เครื่องแกงให้มีความเข้มข้นขึ้น
ดอกข่าป่า
ดอกข่าป่า กลีบดอกสีขาวกระน้ำตาล โคนติดกัน

คุณค่าทางโภชนาการของข่าป่า

การแปรรูปของข่าป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10757&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment