ข่าลิง ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ยอดอ่อน หน่ออ่อน รับประทานเป็นผักสด

ข่าลิง

ชื่ออื่นๆ : ข่าเล็ก ข่าป่า ข่าน้ำ

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กูวะกือติง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia conchigera Griff.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของข่าลิง

ไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน สูง 50-150 ซม. ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 4-10 ซม. ยาว 15-30 ซม. ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบแหลม ดอก สีแดงอมม่วงหรือสีขาวอมเขียวถึงเหลืองนวล ออกเป็นช่อตั้ง ยาว 15-25 ซม. ดอกย่อยขนาด 1 ซม. กลีบรองดอก เชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก โคนเชื่อมกัน เป็นหลอดสั้นๆ กลีบปากแผ่ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ มีเส้นสีม่วง แกมแดงเป็นทาง ผล รูปทรงกลม ขนาดประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีส้ม ถึงแดง ปลายผลมักมีกลีบเลี้ยงติดอยู่

ต้นข่าลิง
ต้นข่าลิง มีเหง้าใต้ดิน ใบเรียงสลับ รูปขอบขนาน
ดอกข่าลิง
ดอกข่าลิง ดอกสีแดงอมม่วงหรือสีขาวอมเขียวถึงเหลืองนวล ออกเป็นช่อตั้ง

การขยายพันธุ์ของข่าลิง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/การกระจายพันธุ์ : พบทั่วทุกภาคของประเทศไทย ในที่ชื้นของป่าดงดิบ ออกดอกและติดผลช่วงเดือนพฤษภาคม-กุมภาพันธ์

ธาตุอาหารหลักที่ข่าลิงต้องการ

เจริญเติบโตได้ดีใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ชอบดินร่วนซุย ขึ้นได้ดีในที่ดอนที่มีความ อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้น ไม่มีน้ำขัง

ประโยชน์ของข่าลิง

ยอดอ่อน หน่ออ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ป่น หรือใส่เครื่องแกง ต้มยำ ตำเมี่ยงข่า

สรรพคุณทางยาของข่าลิง

เหง้า รสเผ็ดร้อนซ่า เป็นยาแก้กามโรค แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
ใบ รสเผ็ดร้อนซ่า แก้เกลื้อนน้อย เกลื้อนใหญ่ ฆ่าพพยาธิต่างๆ
ดอก รสเผ็ดร้อนซ่า ใช้ขับพยาธิในลำไส้
ต้น รสเผ็ดร้อนซ่า เป็นยาแก้ฝีดาษ ฝีทราย ฝีเส้น ฝีฝักบัว

คุณค่าทางโภชนาการของข่าลิง

การแปรรูปของข่าลิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11758&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment