ข้าวจี่ ช่อดอกห้อยลงตามกิ่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ข้าวจี่

ชื่ออื่นๆ : ข้าวจี่ คางแมว จิงจาย จิ้งจ๊อ ซ้อแมว ปะงางอ ยองขนุน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ช้องแมว Wild Sage

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gmelina philippensis Cham.

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE (LABIATAE)

ลักษณะของข้าวจี่

ต้น ไม้พุ่มรอเลื้อย

ใบ ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 4-5 ซม. ปลายใบมน ใบประดับสีเขียวแกมเหลือง มี ประแดง

ดอก ดอกช่อห้อยลงออกตามกิ่งข้าง ดอกออกจากซอกของใบประดับซึ่งเรียงซ้อนกัน ใบประดับมีสีเขียวอมเหลืองประจุดแดง กลีบดอกย่อยสีเหลือง โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ดอกตะแคงและโค้งมีกลีบแยกกันที่ปลายหลอดดอก

ฝัก/ผล ผลสดรูปรีกลมขนาด 1.5-2.5 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลืองส้ม ผิวมัน

ข้าวจี่
โคนใบมน ปลายใบแหลม ช่อดอกห้อยลง

การขยายพันธุ์ของข้าวจี่

ใช้กิ่ง/ลำต้น/การขยายพันธุ์: ตอนกิ่ง การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวจี่ต้องการ

ประโยชน์ของข้าวจี่

การใช้ประโยชน์:
– ไม้ประดับ
– สมุนไพร

ดอกข้าวจี่
ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของข้าวจี่

ใบ ใช้ทาเป็นยาแก้บวม และเป็นยาถ่ายพยาธิ ใช้ต้มเอาน้ำอม หรือบ้วนปาก แก้ปวดฟัน และแก้เหงือกบวมหรือใช้ใบสดตำให้ละเอียด แล้วพอกสุมลงบนศีรษะ ช่วยเป็นยาแก้ปวดศีรษะ และกันผมร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวจี่

การแปรรูปของข้าวจี่

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10906&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment