ข้าวตอกฤาษี เป็นกล้วยไม้ดิน ดอกมีสีขาวนวล

ข้าวตอกฤาษี

ชื่ออื่นๆ : อั้ว, อั้วดอกขาว, เอื้องข้าวตอก, เอื้องเหลี่ยมดอกขาว, ข้าวตอกฤาษี

ต้นกำเนิด : พบขึ้นบนพื้นดินในป่าดิบชื้น

ชื่อสามัญ : อั้วข้าวตอก, Christmas orchid

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calanthe triplicata ( Willemet ) Ames

ชื่อวงศ์ : Orchidaceae

ลักษณะของข้าวตอกฤาษี

ต้น : เป็นกล้วยไม้ดินต้นสั้น มีโคนกาบใบหุ้ม

ใบ : ใบรูปขอบขนานแกมรูปรี แผ่นใบแผ่ พับเป็นจีบ กว้าง 8 – 10 ซม. ยาว 30 – 50 ซม.

ดอก : ช่อดอกออกจากโคนต้นตั้งตรง สูง 40-70 ซม. ดอกย่อยเรียงตัวเป็นพุ่มทางปลายช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล กลีบปากสีขาวบริเวณกลางกลีบมีแต้มจุดสีแดง หรือสีเหลือง ขนาดดอกกว้าง 2 – 2.5 ซม. ยาว 3 ซม.

ข้าวตอกฤาษี
ข้าวตอกฤาษี ต้นสั้นมีโคนกาบใบหุ้ม
ดอกข้าวตอกฤาษี
ดอกข้าวตอกฤาษี กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาวนวล

การขยายพันธุ์ของข้าวตอกฤาษี

แยกกอหรือเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวตอกฤาษีต้องการ

ประโยชน์ของข้าวตอกฤาษี

ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของข้าวตอกฤาษี

รากเหง้านำมาตากแห้งคั่วกับไฟ ใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ และขับน้ำนิ่วในไต

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวตอกฤาษี

การแปรรูปของข้าวตอกฤาษี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9630&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment