ข้าวสารดอกเล็ก ไม้เถาเลื้อย ทุกส่วนมียางขาว เมล็ดจะมีสาร cardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษ

ข้าวสารดอกเล็ก

ชื่ออื่นๆ : ข้าวสาร เครือข้าวสาร (ภาคกลาง) ข้าวสารดอกเล็ก (กรุงเทพฯ) เมือยสาร (ชุมพร) เคือคิก (สกลนคร) ปลายสาน ดอกข้าวสาร ผักข้าวสาร (อุดรธานี-อีสาน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Raphistemma hooperianum Decne.

ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ลักษณะของข้าวสารดอกเล็ก

ต้น ไม้เถาเลื้อย ทุกส่วนมียางขาว เถากลมยาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่แกมรูปหัวใจ หรือรูปรีแกมรูปหัวใจ ขนาด 6-12 x 4-8 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนมนเว้าลึก ก้านใบยาว 3-7 เซนติเมตร

ดอก ช่อดอกออกเป็นกระจุกคล้ายซี่ร่ม ออกตามซอกใบของกิ่งอ่อน แต่ละช่อมี 4-6 ดอก ดอกสีขาวหรือสีนวล รูประฆังแกมรูปกงล้อ เส้นผ่านศูนย์กลางดอกบาน 1.2-2 เซนติเมตร แฉกรูปรี ปลายมน โคนแฉกมีรยางค์รูปใบหอก ปลายเรียวเป็นเส้นกลม

ผล ผลรูปทรงกระบอก ขนาด 8-12 x 1.5-2 เซนติเมตร ผลแก่แตกแนวเดียว เมล็ดจำนวนมาก ค่อนข้างแบน รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งมีขนยาวเป็นพู่ กระจายไปตามลมได้ดี

ข้าวสารดอกเล็ก
ข้าวสารดอกเล็ก ไม้เถาเลื้อย ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของข้าวสารดอกเล็ก

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวสารดอกเล็กต้องการ

ประโยชน์ของข้าวสารดอกเล็ก

ดอกใช้แกงส้ม เถา ลอกเปลือกจิ้มน้ำพริก โคนต้นที่หมกดิน ล้างแล้วต้มลอกเปลือกนำมา เป็นผักจิ้มน้ำพริก

สรรพคุณทางยาของข้าวสารดอกเล็ก

ราก ใช้ปรุงเป็นยารักษาตา สรรพคุณแก้ตาแดง ตาแฉะ ตามัว

ส่วนในเมล็ดจะมีสาร cardiac glycoside ซึ่งเป็นพิษ เมล็ด หากกินมากเกินไปจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเป็นอัมพาตและอาจถึงแก่ชีวิตได้

ดอกข้าวสารดอกเล็ก
ดอกข้าวสารดอกเล็ก ดอกสีขาว รูประฆังแกมรูปวงล้อ

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวสารดอกเล็ก

การแปรรูปของข้าวสารดอกเล็ก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9941&SystemType=BEDO
http://www.botany.sc.chula.ac.th

Add a Comment