ข้าวหลามดง ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวล ดอกออกตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ

ข้าวหลามดง

ชื่ออื่นๆ : จำปีหิน (ชุมพร), นมงัว (ปราจีนบุรี), ปอขี้แฮด (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Goniothalamus laoticus (Finet & Gagnep.) Ban

ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

ลักษณะของข้าวหลามดง

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 4-8 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกหนาสีเทาอมดำ ใบเดี่ยว เรียงสลับสองข้างกิ่งในระนาบเดียวกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบ ใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ก้านใบยาว ดอก เดี่ยวหรืออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ ก้านดอกยาว กลีบดอกยาวสีเหลืองนวลถึงสีชมพู ผล ออกเป็นกลุ่ม 6-12 ผล รูปกลมรี หรือทรงกระบอก ไม่มีก้านผล สีเขียวอมเหลือง

ต้นข้าวหลามดง
ต้นข้าวหลามดง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ปลายเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของข้าวหลามดง

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวหลามดงต้องการ

ควรปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร และต้องดูแลเป็นพิเศษในปีแรก ที่สวนไม้หอมพบว่า การปลูกในพื้นที่มีแดดรำไร มีการติดเมล็ด

ประโยชน์ของข้าวหลามดง

สรรพคุณทางยาของข้าวหลามดง

ลำต้นข้าวหลามดง นำมาผ่าซีกแล้วต้มให้แม่อยู่กำ(อยู่ไฟ)กิน เพื่อรักษามดลูก เรียกน้ำนม อาจจะใส่สมุนไพรบำรุงน้ำนมตัวอื่นๆ เช่น นมวัว นมสาว นมน้อย นมแมว ลงไปด้วยก็ได้ ลำต้นข้าวหลามดง นำมาผ่าซีกแล้วต้มกิน หรือต้มรวมกับสมุนไพรยากำลังตัวอื่นๆ เช่น โด่ไม่รู้ล้ม ช้างน้าว นมสาว ตาไก้(กำแพงเจ็ดชั้น)

ดอกข้าวหลามดง
ดอกข้าวหลามดง ดอกสีเหลืองนวล ออกตามลำต้น กิ่งและตามง่ามใบ

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวหลามดง

การแปรรูปของข้าวหลามดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11217&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment