ข้าวเหนียว เป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้าวเหนียว

ชื่ออื่นๆ : ข้าวเหนียว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Glutinous rice

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa var. glutinosa

ชื่อวงศ์ : Poaceae

ลักษณะของข้าวเหนียว

ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน

ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง

ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ

ต้นข้าวเหนียว
ต้นข้าวเหนียว ลำต้นตั้งตรง ลำต้นกลมเล็กเป็นข้อปล้อง

การขยายพันธุ์ของข้าวเหนียว

ต้นข้าวมีการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งเกิดจากการผสมระหว่างเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย เพราะฉนั้น ลักษณะที่สำคัญเกี่ยวกับการ ขยายพันธุ์ ได้แก่ รวง ดอกข้าวและเมล็ดข้าว

รวงข้าว(panicle) หมายถึงช่อดอกของข้าว(inflorescence) ซึ่งเกิดขึ้นที่ข้อของปล้องอันสุดท้ายของต้นข้าว ระยะระหว่างข้ออันบนของปล้องอันสุดท้ายกับข้อต่อของใบธง เรียกว่า คอรวง

ดอกข้าว หมายถึง ส่วนที่เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียสำหรับผสมพันธุ์ ดอกข้าวประกอบด้วยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่นประสานกัน เพื่อห่อ หุ้มส่วนที่อยู่ภายในไว้ เปลือกนอกใหญ่แผ่นนอก เรียกว่า เลมมา(lemma) ส่วนเปลือกนอกใหญ่แผ่นใน เรียกว่า พาเลีย(palea) ทั้งสองเปลือกนี้ ภายนอกของมันอาจมีขนหรือไม่มีขนก็ได้

เมล็ดข้าว หมายถึง ส่วนที่เป็นแป้งที่เรียกว่า เอ็นโดสเปิร์ม(endosperm และส่วนที่เป็นคัพภะ ซึ่งห่อหุ้มไว้โดยเปลือกนอกใหญ่สองแผ่น เอ็น โดสเปิร์มเป็นแป้งที่เราบริโภค คัพภะเป็นส่วนที่มีชีวิตและงอกออกมาเป็นต้นข้าวเมื่อเอาไปเพาะ)

รวงข้าวเหนียว
รวงข้าวเหนียว มีเปลือกสีเหลืองนวล

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวเหนียวต้องการ

ประโยชน์ของข้าวเหนียว

ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว
ข้าวเหนียวมี 2 สี คือ สีขาวและสีดำ(คนเหนือเรียกว่า”ข้าวก่ำ”) แต่ข้าวเหนียวดำจะมีสารอาหาร ที่เป็นประโยชน์มากกว่าข้าวเหนียวขาว สารอาหารที่ว่า คือ “โอพีซี”(OPC)มีสรรพคุณช่วยชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย โดยสารโอพีซีที่พบในข้าวเหนียวดำ เป็นสารชนิดเดียวกับสารสกัดที่ได้ จากองุ่นดำองุ่นแดง เปลือกสน

ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียวสีขาว ข้าวเหนียวสีดำ (ข้าวก่ำ)

สรรพคุณทางยาของข้าวเหนียว

  1. เป็นอาหารร่าเริง ทำให้สมองสงบ คลายเครียด กินแล้วจะรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้อิ่มท้องนาน
  2. เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกระเพาะอาหาร
  3. ชะลอการแก่ก่อนวัย และความเสื่อม ถอยของร่างกาย
  4. ช่วยขับลมในร่างกาย
  5. สร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์
  6. ป้องกันหลอดเลือดหัวใจตีบ
  7. ป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อม

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวเหนียว

การแปรรูปของข้าวเหนียว

ข้าวเหนียวเป็นที่นิยมบริโภคอย่างกว้างขวางในประเทศ และเป็นอาหารหลักของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ นอกจากการบริโภคโดยตรงแล้วยังมีการนำข้าวเหนียวมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตสุราพื้นเมือง การผลิตแป้งข้าวเหนียวเพื่ออุตสาหกรรมอาหารและขนมขบเคี้ยว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10306&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment