ข้าวโพด ผลไม้ฟัก เมล็ดเป็นแถว ฟักอ่อนสีเขียว ฟักแก่สีเหลืองนวล
ชื่ออื่นๆ : ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกา
ชื่อสามัญ : Maize, corn
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea Mays L.
ชื่อวงศ์ : Gramineae
ชื่อภาษาอังกฤษ : Maize
ลักษณะของข้าวโพด
ข้าวโพด เป็นพืชจำพวกหญ้า มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ใบ จะเป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้อยู่ส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกตัวเมียอยู่ต่ำลงมาอยู่ระหว่างกาบของใบ และลำต้นฝักเกิดจากดอกตัวเมียที่เจริญเติบโตแล้ว ฝักอ่อนจะมีสีเขียว พอแก่เป็นสีนวล
การขยายพันธุ์ของข้าวโพด
ใช้เมล็ด/การปลูกข้าวโพดหวาน ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที
ธาตุอาหารหลักที่ข้าวโพดต้องการ
–
ประโยชน์ของข้าวโพด
ข้าวโพด เป็นธัญพืชที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของโลก เป็นอาหารที่มีประโยชน์มากทั้งคนและสัตว์
ข้าวโพด มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ประกอบไปด้วยสารอาหาร ดังนี้
– คาร์โบไฮเดรต ?ข้าวโพด?มีคาร์โบไฮเดรตประมาณร้อยละ 72 ข้าวโพดหนัก 1 กรัม ให้พลังงาน 4 แคลอรี่
– ไขมัน เมล็ดข้าวโพดมีไขมันอยู่ร้อยละ 4 มีฤทธิ์ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยลดความดันโลหิตสูง
– โปรตีน โปรตีนในข้าวโพดเป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ค่ะ เพราะจากกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายคือไลซีนและทริบโตฟาน ควรรับประทานข้าวโพดร่วมกับถั่วเมล็ดต่างๆ
– วิตามิน อุดมด้วยวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 รวมไปถึงเกลือแร่ด้วยค่ะ
ประโยชน์ของข้าวโพด นอกจากจะรับประทานฝักสดๆแล้ว ข้าวโพดฝักอ่อน มักจะนำมาบรรจุกระป๋องซึ่งเป็นสินค้าอีกชนิดหนึ่งที่นำมูลค่าส่งออกให้ประเทศ
น้ำมันข้าวโพดนิยมนำมาทำขนมหรือน้ำมันสลัด ตลอดจนใช้ทอดอาหารต่างๆได้เป็นอย่างดี? นอกจากประโยชน์ในรูปของอาหารแล้ว วัตถุฉนวนไฟฟ้า ซังข้าวโพดแห้งยังใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มได้? ข้าวโพดมีสรรพคุณทางยา อาทิ ช่วยบำรุงร่างกาย, หัวใจ, ปอด, ขับปัสสาวะ และนำมาพอกรักษาแผล งานนี้ต้องบอกว่า ?ข้าวโพด? ไม่ธรรมดาจริงๆ
สรรพคุณทางยาของข้าวโพด
ชนิดของข้าวโพด โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (Dent Coorn) และข้าวโพดหัวแข็ง (Fint Corn) ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ดข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบ ข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งแล้วตรงส่วนหัวบนสุดจะมีรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาว ข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากและนิยมปลูกกันมากใน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์ สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวไปจนถึงเหลือง เนื่องจากมีหลายสายพันธุมีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดหัวแข็ง ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ดมักมีสีเหลืองจัดและเมื่อแห้งจะแข็งมาก ภายในเมล็ดมีสารที่ทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัดเป็นสารให้สีที่ชื่อ คริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับร่างกายสัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็นไวตามินเอ นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้ม ช่วยให้ไก่มีผิวหนัง ปาก เนื้อ และแข้งมีสีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาดโดยเฉพาะแถบอเมริกาส่วนอังกฤษนั้นนิยมใช้ข้าวโพดขาว ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดมักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์ ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลมเรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn) ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำ หรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน เนื่องจากกลายพันธุ์ พวกที่มีเมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn) หรือเรียกได้อีกชื่อว่าข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (Native Corn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีน สูงกว่าข้าวโพดที่มีแป้งสีขาว ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน จะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะคือ นุ่มเหนียว เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วยแป้งพวกแอมมิโลเปคติน (Amylopectin) ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส (Amylose) ประกอบอยู่ด้วย จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง 0.5-0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อนเพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.
คุณค่าทางโภชนาการของข้าวโพด
- คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
- พลังงาน 360 kJ (86 kcal)
- คาร์โบไฮเดรต
- 18.7 g
- แป้ง 5.7 g
- น้ำตาล 6.26 g
- ใยอาหาร 2 g
- ไขมัน
- 1.35 g
- โปรตีน
- 3.27 g
- ทริปโตเฟน 0.023 g
- ทรีโอนีน 0.129 g
- ไอโซลิวซีน 0.129 g
- ลิวซีน 0.348 g
- ไลซีน 0.137 g
- เมไธโอนีน 0.067 g
- ซิสตีน 0.026 g
- ฟีนิลอะลานีน 0.150 g
- ไทโรซีน 0.123 g
- วาลีน 0.185 g
- อาร์จินีน 0.131 g
- ฮิสทิดีน 0.089 g
- อะลานีน 0.295 g
- กรดแอสปาร์ติก 0.244 g
- กลูตาเมต 0.636 g
- ไกลซีน 0.127 g
- โพรลีน 0.292 g
- ซีรีน 0.153 g
- วิตามิน
- วิตามินเอ(1%) 9
- μglutein zeaxanthin 644 μg
- ไทอามีน (บี1) (13%) 0.155 mg
- ไรโบเฟลวิน (บี2) (5%) 0.055 mg
- ไนอาซิน (บี3) (12%) 1.77 mg
- กรดแพนโทเทนิก (บี5 )(14%) 0.717 mg
- วิตามินบี6 (7%) 0.093 mg
- โฟเลต (บี9) (11%) 42 μg
- วิตามินซี (8%) 6.8 mg
- แร่ธาตุ
- เหล็ก (4%) 0.52 mg
- แมกนีเซียม (10%) 37 mg
- แมงกานีส (8%) 0.163 mg
- ฟอสฟอรัส (13%) 89 mg
- โพแทสเซียม (6%) 270 mg
- สังกะสี (5%) 0.46 mg
- องค์ประกอบอื่น
- น้ำ 75.96 g
การแปรรูปของข้าวโพด
ข้าวโพดยังมีประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องอุปโภคหลายชนิด เช่น ทำสบู่, น้ำมันใส่ผม, น้ำหอม, กระดาษ, ผ้า ตลอดจนฝัก, ใบ, ลำต้น ยังนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์อีกหลายอย่าง อาทิ ปุ๋ย เป็นต้น
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับข้าวโพด
References : www.bedo.or.th
รูปภาพจาก : amazonaws.com, pixabay.com, www.earthtimes.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
8 Comments