คงคาเลือด เปลือกต้น รสเย็นติดฝาดขม แก้ไอ แก้ไข้ แก้คัน เจริญอาหาร แก้ซางตัวร้อน

คงคาเลือด

ชื่ออื่นๆ : ช้างเผือก (ลำปาง) สมุยกุย (นครราชสีมา) ตะไล (ราชบุรี) ตะไลคงคา (ชัยนาท) คงคาเลือด, หมากเล็กหมากน้อย (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arfuillea arborescens Pierre

ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะของคงคาเลือด

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ทึบ เปลือกนอกสีเทาอมดำเรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่น เปลือกในสีขาว กิ่งก้านมาก

ใบ ประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามหรือเยื้องกัน 4-5 คู่ ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 4.5-7 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือเรียงแหลม โคนใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสากมือ เส้นแขนงใสบข้างละ 10-12 เส้น ก้านใบย่อยยาว 2-6 มม.

ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 30-40 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 2-4 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 ซม. ดอกสีน้ำตาลมีกลิ่นหอม

ผล อ่อนเขียวมีปีก 3 ปีก ขนาด 3.5-5 ซม. ผลแก่สีน้ำตาล มี 3 เมล็ดต่อผล เมล็ดค่อนข้างกลมสีดำ ปีกผลช่วยการกระจายพันธุ์ได้กว้างขวาง

คงคาเดือด
คงคาเดือด แผ่นใบบางสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างสากมือ
ดอกคงคาเดือด
ดอกคงคาเดือด ดอกสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของคงคาเลือด

ใช้เมล็ด, การปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่คงคาเลือดต้องการ

ประโยชน์ของคงคาเลือด

สรรพคุณทางยาของคงคาเลือด

ส่วนที่เป็นยา : ต้น, เปลือกต้น, เนื้อไม้, ใบ

  • ต้น  ฆ่าพยาธิ แก้ไอ แก้ไข้
  • เปลือกต้น  รสเย็นติดฝาดขม แก้ไอ แก้ไข้ แก้คัน เจริญอาหาร แก้ซางตัวร้อน แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
  • ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไอ แก้ไข้ ฆ่าพยาธิ
  • เนื้อไม้  รสเย็นฝาดขม ขับพยาธิ ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้ซางตัวร้อน ดับพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ เจริญอาหาร
ผลคงคาเดือด
ผลคงคาเดือด มีปีก 3 ปีก ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของคงคาเลือด

การแปรรูปของคงคาเลือด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10549&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment