คดสัง
ชื่ออื่นๆ : กรด (กลาง) ย่านตุด คดสัง (สุราษฎร์ธานี) หญ้ายอดคำ (เหนือ) จุด ชุด (ใต้) เบน (ขอนแก่น มหาสารคาม) เบนน้ำ (อุบลราชธานี) เปือย (นครพนม) ตรษ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Combretum trifoliatum Vent.
ชื่อวงศ์ : Combretaceae
ลักษณะของคดสัง
ต้น ไม้เถาหรือไม้พุ่มรอเลื้อย สูงราว 3-5 เมตร กิ่งอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลืองปกคลุม เมื่อแก่ผิวจะเกลี้ยง
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกที่ข้อเดียวกัน 3-5 ใบ รูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 3-5.5 เซนติเมตร ยาว 8-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น โคนใบมน หรือค่อนข้างกลมเล็กน้อย เนื้อใบหนา มัน หรือค่อนข้างหนามัน ด้านบนค่อนข้างเกลี้ยง ด้านล่างมีตุ่มหูด หรือมีแถบของขนนุ่มสีน้ำตาลแกมเหลือง พาดขนานตามความยาวของเส้นกลางใบ มีเส้นใบประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบยาว 4-7 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลแดงและมีขนนุ่ม เมื่อแก่จัดผิวเกลี้ยง มีสีดำมัน
ดอก สีขาวหรือสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอดหรือตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 8-20 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงตอนล่างเชื่อมติดกันเป็นท่อ ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนคล้ายเส้นไหมสีเทา ตอนบนแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้นๆ ปลายแยกเป็น 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร กว้าง 0.2-0.4 มิลลิเมตร มีขนหนาแน่น กลีบดอกมี 5 กลีบ มีขนนุ่มหนาแน่น เกสรตัวผู้มี 10 อัน ก้านเกสรตัวผู้ยาว 4-5 มิลลิเมตร อับเรณูยาว 0.5 มิลลิเมตร ส่วนท่อเกสรตัวเมียยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
ผล ไม่มีก้าน รูปรีแคบ กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 3-3.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีน้ำตาลดำ เป็นมัน มีครีบปีกแข็ง 5 ปีก (อาจพบแบบมี 4 หรือ 6 ปีก) ปีกกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ชอบขึ้นบริเวณที่ชุ่มชื้น
การขยายพันธุ์ของคดสัง
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่คดสังต้องการ
ประโยชน์ของคดสัง
ยอดหรือใบอ่อนคดสังใช้รับประทานสดเป็นผักร่วมกับลาบ ก้อย
สรรพคุณทางยาของคดสัง
- ราก ปรุงเป็นยาชงแก้ตกขาว ใช้ชำระล้างอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
- เปลือกและราก ฝนกับน้ำซาวข้าว กินเป็นยาสมานลำไส้ แก้บิด แก้ท้องร่วง หรือดองเหล้ากินแก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด
- ผล ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือน ต้มน้ำอมแก้เหงือกบวม และปากเปื่อย
- ทั้งต้น รักษาโรคบิด ขับพยาธิ
คุณค่าทางโภชนาการของคดสัง
การแปรรูปของคดสัง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10690&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com