คล้าแววมยุรา
ชื่ออื่นๆ :
ต้นกำเนิด : แถบตะวันออกของประเทศบราซิล
ชื่อสามัญ : Peacock Plant, Cathedral Windows, Brain Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calathea makoyana E.Morren
ชื่อวงศ์ : MARANTACEAE
ลักษณะของคล้าแววมยุรา
ลำต้น พืชล้มลุกสูง 25-35 เซนติเมตร พุ่มค่อนข้างแน่น มีเหง้าอยู่ใต้ดิน
ใบ รูปรีกว้าง ปลายแหลม ขอบเรียบ ด้านบนสีเขียวอ่อน มีลายแต้ม รูปรีปลายมน หรือกลม ทั้งเล็กและใหญ่ สีเขียวเข้ม สลับเรียงกัน ขอบใบขลิบเขียวเข็ม ใต้ใบสีเขียวอมเทา หรือสีม่วงแดง ก้านใบกลมสีม่วงแดง ห่อหุ้มกันเป็นชั้น
การขยายพันธุ์ของคล้าแววมยุรา
แยกหน่อ, ปักชำเหง้า
ธาตุอาหารหลักที่คล้าแววมยุราต้องการ
ดินทั่วไป ต้องการน้ำมาก แสงแดดรำไร
ประโยชน์ของคล้าแววมยุรา
ปลูกเป็นไม้ประดับสวน ไม้กระถาง
ต้นคล้าแววมยุราจัดเป็นไม้มงคล นิยมปลูกกันมากเพราะมีใบที่สวยงาม คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองรักษาผู้อยู่อาศัยให้มีความสงบสุข เพราะ คล้า หรือคลุ้ม คือ การคุ้มครอง ปกป้องรักษาและคนโบราณยังเชื่ออีกว่า คล้า หรือ คล้าคลาด คือการคลาดแคล้วคลาดภัยศัตรูทั้งปวง นอกเหนือจากนี้คนไทยโบราณยังเรียกคล้าว่า พุทธรักษาน้ำ ดังนั้นจึงถือว่าคล้าเป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษานั่นเอง
สรรพคุณทางยาของคล้าแววมยุรา
คุณค่าทางโภชนาการของคล้าแววมยุรา
การแปรรูปของคล้าแววมยุรา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11677&SystemType=BEDO
https://data.addrun.org