คล้า คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข

คล้า

ชื่ออื่นๆ : แหย่ง (เหนือ) หญ้าเข่าเปียง (น่าน) คล้า (ภาคกลาง นครศรีธรรมราช) ก้านพร้า (ภาคกลาง) บูแมจี่จ๊ะไอย์ (มลายู ปัตตานี) คลุ่ม คลุ้ม คล้าก้านแหย่ง

ต้นกำเนิด : พบตามริมห้วย หรือหุบเขาที่มีความชุ่มชื้น ระดับความสูงไม่เกิน 800 เมตร ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ต่างประเทศพบที่อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และไทย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Schumannianthus dichotomus (Roxb.) Gagnep.

ชื่อวงศ์ : MARANTACEAE

ลักษณะของคล้า

ต้น  ไม้ล้มลุก สูง 2-4 เมตร แตกเป็นกอ ลำต้นและกิ่งกลม แข็ง สีเขียวเข้ม

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 10-20 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบมันเล็กน้อย ก้านใบยาว 10-20 เซนติเมตร

ดอก  ดอกสีขาว ออกเป็นช่อๆ ละ 2-3 ดอก ดอกบานขนาด 2-3 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 4 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ ส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอด

ผล  ผลค่อนข้างกลม มี 3 พู ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี 1-3 เมล็ด

ต้นคล้า
ต้นคล้า แตกเป็นกอ ลำต้นและกิ่งกลม แข็ง สีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของคล้า

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ

ธาตุอาหารหลักที่คล้าต้องการ

ประโยชน์ของคล้า

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นคล้าไว้ประจำบ้าน จะช่วยคุ้มครองรักษาให้มีความสงบสุข เพราะ คล้า หรือคลุ้ม คือ การคุ้มครอง ปกป้องรักษาและคนโบราณยังเชื่ออีกว่า คล้า หรือ คล้าคลาด คืการคลาดแคล้วพิษภัยศัตรูทั้งปวง นอกจากนี้คนไทยโบราณยังเรียกคล้าว่า พุทธรักษาน้ำ ดังนั้นจึงถือว่าคล้าเป็นไม้มงคลนาม คือ มีพระพุทธเจ้ารักษานั่นเอง

สรรพคุณทางยาของคล้า

หัว แก้พิษไข้ทั้งปวง แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้รากสาด แก้ไข้เหนือ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้ปอดบวม แก้เหือด หัด อีสุกอีใส แก้ฝีดาษ แก้ประดง แก้ไข้จับสั่น

ดอกคล้า
ดอกคล้า ดอกสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของคล้า

การแปรรูปของคล้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11795&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment