คัดเค้า ไม้รอเลื้อย ดอกสีขาว หอมแรงมาก ส่งกลิ่นเวลาเย็นตลอดไปจนกลางคืน

คัดเค้า

ชื่ออื่นๆ : คัดเค้า (คัดเค้าเครือ) เขี้ยวกระจับ (ภาคใต้) คัดเค้า (เหนือ, ตะวันออกเฉียงเหนือ) คัดเค้าเครือ (นครราชสีมา) คัดเค้าหนาม (ชัยภูมิ) เค็ดเค้า (ภาคเหนือ) จีเค๊า พญาเท้าเอว (กาญจนบุรี) หนามลิดเค้า (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด : ประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Randia siamensis Craib

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxyceros horridus Lour.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของคัดเค้า

ต้น ไม้รอเลื้อยเนื้อแข็ง หรือไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 3-6 เมตร เนื้อไม้เหนียวมาก มีหนามแหลม ยาว 1 เซนติเมตร ปลายโค้งแข็งเป็นคู่ตามข้อและโคนใบ เปลือกลำต้นเรียบสีน้ำตาล กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลายกิ่งก้านมีสีเขียว

ต้นคัดเค้า
ต้นคัดเค้เนื้อไม้เหนียวมาก มีหนามแหลม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม เนื้อใบหนาแข็ง แผ่นใบเรียบ หลังใบผิวใบเรียบเป็นมัน สีเขียวสด ด้านท้องใบสีอ่อนกว่า เรียบและลื่น เนื้อใบเหนียวใบรูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีหูใบเล็กรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างก้านใบ

ใบคัดเค้า
ใบคัดเค้า เนื้อใบหนาแข็ง แผ่นใบเรียบ หลังใบผิวใบเรียบเป็นมัน

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกเป็นช่อใหญ่ แต่ละช่อมีขนาดตั้งแต่ 4-10 เซนติเมตร ดอกยอ่ย 10-25 ดอก คล้ายดอกเข็ม บานพร้อมกันทั้งช่อ  เมื่อแรกบานสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีแกมเหลือง  หอมหอมแรงในตอนกลางคืน กลีบดอกส่วนโคนเชื่อมกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาวและยื่นพ้นกลีบดอก เกสรเพศเมียรูปกระสวย สีขาว กลีบเลี้ยงสีขาวอมเขียว โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกแหลม

ดอกคัดเค้า
ดอกคัดเค้า ดอก คล้ายดอกเข็ม บานพร้อมกันทั้งช่อ  เมื่อแรกบานสีขาว

ผล ผลสดแบบผลกลุ่ม รูปกลมรี สีเขียวเข้ม เมื่อแก่สีดำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ส่วนก้นนูนเป็นวง เมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก

การขยายพันธุ์ของคัดเค้า

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่คัดเค้าต้องการ

ประโยชน์ของคัดเค้า

ยอดของคัดเค้าที่นิยมรับประทานแกล้มลาบ ก็เป็นยาแปะรักษาฝีชั้นดี เมื่อเป็นฝีก็จะใช้ยอดคัดเค้าขยี้หรือตำคัดเค้าพอกฝี ก็ทำให้ฝีหายเร็วขึ้น รวมไปถึงหนามคัดเค้าก็เป็นหมอรักษาฝีที่ดีไม่แพ้รากและยอด มีการนำเอาหนามคัดเค้ามาฝนรักษาฝี เช่นเดียวกับการใช้ราก นอกจากการใช้ทาภายนอกแล้วยังมีการต้มคัดเค้าทั้งห้าส่วนรับประทาน เพื่อการรักษาฝีทั้งภายในและภายนอกด้วย

สรรพคุณทางยาของคัดเค้า

ทั้งต้น  : รสเฝื่อนฝาด แก้เสมหะ แก้ไข้ เปลือกต้น รสฝาด ปิดธาตุแก้เสมหะ แก้โลหิตซ่าน

ใช้เป็นยาขับประจำเดือน
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ผล 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ขับประจำเดือน

คุณค่าทางโภชนาการของคัดเค้า

การแปรรูปของคัดเค้า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11661&SystemType=BEDO
www.forest.go.th
www.flickr.com

Add a Comment