งาขี้ม้อน ต้นมีกลิ่นหอม มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย

งาขี้ม้อน

ชื่ออื่นๆ : งามน (แม่ฮ่องสอน), งาขี้ม้อน งาปุก (คนเมือง), แง (กาญจนบุรี), นอ (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน, กะเหรี่ยงเชียงใหม่), น่อง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ง้า (ลั้วะ), งาเจียง (ลาว), งาม้อน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Perilla frutescens (L.) Britton

ชื่อวงศ์ : LAMIACEAE หรือ LABIATAE

ลักษณะของงาขี้ม้อน

ต้น  เป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขา ต้นมีกลิ่นหอม เป็นสันสี่เหลี่ยมมน ๆ และระหว่างเหลี่ยมเป็นร่องตามยาว มีขนยาวละเอียดสีขาวขึ้นปกคลุมอยู่หนาแน่น เมื่อโตเต็มที่โคนต้นจะเกลี้ยง โคนต้นและโคนกิ่งจะแข็ง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กว้าง หรือรูปกลม ปลายใบเรียวแหลมหรือแหลมเป็นติ่งยาว โคนใบกลม ป้าน หรือตัด ส่วนขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน ท้องใบมีสีอ่อนกว่าหลังใบ แผ่นใบมีขนนุ่มสีขาวทั้งสองด้าน ตามเส้นใบมีขนอยู่หนาแน่น ท้องใบมีต่อมน้ำมัน ส่วนก้านใบยาวประมาณ 10-45 มิลลิเมตร และมีขนยาวขึ้นหนาแน่น

ดอก ออกเป็นช่อกระจะ ตามง่ามใบและที่ยอด ริ้วประดับดอกย่อย รูปไข่กว้าง 2.5 – 3.2 มม. ยาว 3 – 4 มม. ไม่มีก้าน โคนริ้วประดับกลมกว้าง ขอบเรียบ มีขน ปลายเรียวแหลม ด้านดอกย่อยยาวประมาณ 1.5 มม. มีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ยาวประมาณ 2 มม. ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก แฉกกลางด้านบนสั้นกว่าแฉกอื่น ๆ มีเส้นตามยาว 10 เส้น ด้านนอกมีขนและมีต่อน้ำมัน ด้านในมีขนยาวเรียงเป็นวงรอบปากหลอด เมื่อดอกเจริญไปเป็นผลแล้ว กลีบเลี้ยงจะใหญ่ขึ้น กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอก ปลายแยกเป็นปาก ยาว 3.5 – 4 มม. ด้านนอกมีขนด้านในมีขนเรียงเป็นวงอยู่ กึ่งกลางหลอด ปากบนปลายเว้าเล็กน้อย ปากล่างมี 3 หยักปลายมนหยักกลางใหญ่ กว่าหยักอื่น ๆ และเฉพาะหยักนี้ด้านในมีขน เวลาดอกบานกลีบนี้จะกางออก เกสรเพศผู้มี 4 อัน เรียงเป็นคู่ คู่บนสั้นกว่าคู่ล่างเล็กน้อย ก้านเกสรเกลี้ยง อับเรณูมี 2 พู ด้านบนติดกันด้านล่างกางออก จานดอกเห็นชัด รังไข่ยาวประมาณ 3 มม. มีพูกลม ๆ 4 พู ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 2.6 – 3 มม. ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่มีขน ผล รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยางประมาณ 2 มม.
แข็ง สีน้ำตาลหรือสีเทา มีลายรูปตาข่าย

ผล  ผล รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยางประมาณ 2 มม. แข็ง สีน้ำตาลหรือสีเทา มีลายรูปตาข่าย ภายในผลมีเมล็ดขนาดเล็กสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดมีลักษณะกลม

ต้นงาขี้ม้อน
ต้นงาขี้ม้อน ลำต้นตั้งตรง มีกลิ่นหอม

การขยายพันธุ์ของงาขี้ม้อน

ใช้เมล็ด

พันธุ์งาขี้ม่อน มีพันธุ์ใบสีเขียวและพันธุ์ใบสีม่วง ใบสีเขียวเป็นพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย จากการสำรวจการปลูกงาขี้ม่อนในภาคเหนือตอนบนพบว่า มีการปลูกกระจายทั่วไปบนพื้นที่ดอนตามไหล่เขาเชิงเขา งาขี้ม่อนทั้งหมด 130 สายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 3 พันธุ์ ได้แก่
1. งาดอ เป็นงาขี้ม่อนอายุสั้น ( เก็บเกี่ยวช่วงเดือนตุลาคม )
2. งากลาง อายุอยู่ระหว่างงาดอกับงาปี
3. งาปี มีอายุมากกว่า ( เก็บเกี่ยวช่วงปลายเดือนธันวาคม )

ธาตุอาหารหลักที่งาขี้ม้อนต้องการ

ประโยชน์ของงาขี้ม้อน

ประโยชน์ของเมล็ดงาขี้ม้อน

  • ใบงาขี้ม้อนสามารถใช้รับประทานเป็นผักสดได้ โดยนำมาห่อข้าว เนื้อย่าง หมูย่าง ห่ออาหารประเภทเมี่ยงปลา หรือใช้เป็นผักแนม หรือใช้รับประทานร่วมกับอาหารประเภทยำ ก็จะได้กลิ่นหอม รสซ่าคล้ายรสมินต์ และใช้ใส่ในซุปกระดูกหมู
  • เมล็ดนำไปคั่วแล้วตำ ใช้รับประทานโดยการนำไปคลุกกับข้าวเหนียว หรือจะนำเมล็ดไปคั่วใส่ในน้ำพริก หรือใช้ตำแล้วคลุกกับข้าวเหนียวรับประทาน หรือจะนำไปคั่วแล้วตำผสมกับข้าวเหนียวผสมเกลือ หรือใช้ทำขนมก็ได้ (เรียกว่าข้าวหนุกงา)
  • งาขี้ม้อนมีกรดไขมันอิ่มตัวสูง โดยกรดชนิดนี้มีประโยชน์อยู่หลายอย่าง เช่น ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยควบคุมระดับคอเลสตอรอลไม่ให้มีมากจนเกินไป ช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัว ป้องกันโรคหัวใจและโรคที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดบางชนิด และยังช่วยแก้อาการไม่สบายต่าง ๆ ที่เกิดจากระบบประสาท เช่น อาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร เมื่อยสายตา อ่อนเปลี้ยเพลียแรง เป็นเหน็บชา มีอาการปวดเส้นตามตัว แขน หรือขา
  • มีโอเมก้า 3 ช่วยรักษาอาการร้อนใน
  • ช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ
  • ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ช่วยบำรุงผิว และยับยั้งการสร้างเม็ดสีเมลานิน
  • ทำให้เกิดความผ่อนคลาย และลดความวิตกกังวลที่เป็นสาเหตุของโรคซึมเศร้า
  • บรรเทาอาการหอบหืด
ดอกงาขี้ม้อน
ดอกงาขี้ม้อน กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดทรงกระบอก

สรรพคุณทางยาของงาขี้ม้อน

  • เมล็ดหรือน้ำมันสกัดจากเมล็ดใช้กินเป็นยาชูกำลัง โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้าเย็น (น้ำมันจากเมล็ด, เมล็ด
  • เมล็ดช่วยลดไขมันในเลือด โดยใช้เมล็ดงาขี้ม้อน 1 ช้อนชา นำมาชงกับน้ำดื่มเช้า, เย็น
  • ใบและยอดอ่อนช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด
  • เมล็ดนำมาตำใช้เป็นยาประคบแก้อาการข้อพลิก
  • ใบ ยอดอ่อน  ช่วยในการย่อยอาหาร
เมล็ดงาขี้ม้อน
เมล็ดงาขี้ม้อน เมล็ดเล็ก สีน้ำตาลหรือสีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของงาขี้ม้อน

งาขี้ม่อน 104 กรัม ( 8 ช้อนโต๊ะ ) ให้พลังงาน 568 แคลอรี ประกอบด้วย

คาร์โบไฮเดรต 25.6 กรัม
โปรตีน 16.8 กรัม
ไขมัน 48 กรัม
ใยอาหาร 14.4 กรัม
แคลเซียม 760 มิลลิกรัม
ธาตุเหล็ก 10.44 มิลลิกรัม
โพแทสเซียม 472 มิลลิกรัม
โซเดียม 11.2 มิลลิกรัม

การแปรรูปของงาขี้ม้อน

น้ำมันสกัดจากเมล็ดงาขี้ม่อน การแปรรูปเป็น ขนมงา งาคั่ว งาขี้ม้อนแผ่น ข้าวหลามงาขี้ม้อน คุกกี้งาขี้ม้อน ชางาขี้ม้อนป่น รวมไปถึงเครื่องสำอางบำรุงผิว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10597&SystemType=BEDO
https://www.teaoilcenter.org
https://www.flickr.com

Add a Comment