จมูกปลาหลด
ชื่ออื่นๆ : เครือไส้ปลาไหล (มหาสารคาม), จมูกปลาหลด ตะหมูกปลาไหล (ลพบุรี), ผักไหม (เชียงใหม่), สะอึก (ภาคกลาง), จมูกปลาไหลดง (เพชรบูรณ์), ตะมูกปลาไหล (นครราชสีมา), กระพังโหม
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Rosy Milkweed
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oxystelma secamone (L.) Karst.
ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE
ลักษณะของจมูกปลาหลด
ต้น ไม้เถาขนาดเล็ก ขึ้นพาดพันต้นไม้อื่น ยอดอ่อนมีขนเล็กน้อยและค่อนข้างเกลี้ยงเมื่อแก่ มียางขาว
ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปยาวแคบปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ
ดอก ออกที่ง่ามใบเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อสั้น ช่อหนึ่งมี 2-3 ดอก บางครั้งช่อใหญ่มี 6-9 ดอก กลีบดอกโคนติดกันปลายแยกเป็น 5 กลีบ ด้านนอกสีขาวอมชมพู ด้านในสีเดียวกันแต่มีเส้นสีม่วงเข้มอยู่ตอนโคนกลีบที่ติดกัน
ผล เป็นฝักรูปกระสวย มีเมล็ดจำนวนมาก ที่ปลายด้านหนึ่งมีพู่ขนเป็นกระจุ แก่แล้วแตกข้างเดียว มีเมล็ดมาก ปลายเมล็ดมีขนติดอยู่เป็นกระจุก
การขยายพันธุ์ของจมูกปลาหลด
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่จมูกปลาหลดต้องการ
ประโยชน์ของจมูกปลาหลด
- ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอก ใช้รับประทานเป็นผักสดจิ้มกับน้ำพริกชนิดต่าง ๆ หรือลาบ ก้อน น้ำตก ชาวอีสานจะใช้รับประทานร่วมกับลาบ ส่วนชาวใต้จะใช้ใบนำมาหั่นผสมกับข้าวยำ
- ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป โดยนำมาปลูกลงในกระถางที่มีโครงเลื้อยพันได้ ดอกและใบมีเสน่ห์สวยงาม
สรรพคุณทางยาของจมูกปลาหลด
- เถา มีรสขมเย็น เด็ดเอามาต้มกับน้ำ ใช้กลั้วคอแก้คอเจ็บ
- ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาอาการอักเสบบริเวณปากและคอ
- ใบและเถา มีรสขม กลิ่นเหม็นเขียว ใช้คั้นเอาน้ำดื่มช่วยลดความร้อนในร่างกาย เป็นยาแก้ไข้
คุณค่าทางโภชนาการของจมูกปลาหลด
การแปรรูปของจมูกปลาหลด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11122&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com