จันดง จัดเป็นพรรณไม้หายาก ผลสุก รสฝาดหวาน

จันดง

ชื่ออื่นๆ : จันเขา, จันป่า, จันเขา, นางกวัก

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : จันดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros dasyphylla Kurz ST

ชื่อวงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะของจันดง

ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง จัดเป็นพรรณไม้หายากที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับมะพลับ ลำต้น มีเปลือกลำต้นเรียบสีดำอมเทา ส่วนเนื้อไม้ภายในเป็นสีขาวนวล มีความแข็งแรงทนทาน แตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มกลมแน่นทึบ มีขนาดความสูงของลำต้นประมาณ 8-10 เมตร

ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับตรงข้ามกันตามกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ ใบมีลักษณะเป็นรูปทรงรีแกมขอบขนาน แผ่นใบเรียบ หนาและเหนียว ใบที่แก่เต็มที่จะแข็งกรอบ แผ่นใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ขอบใบเรียบ โคนใบมน ปลายใบแหลม ด้านล่างของใบจะมีสีอ่อนกว่าด้านบน มีขนสีแดงปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณของยอดอ่อน

ดอก ออกเป็นช่อกระจุกขนาดเล็กตามกิ่งก้านและลำต้น มีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่แยกกันคนละต้น ในแต่ละช่อมีดอกย่อยสีขาวอมเขียวขนาด 1-1.5 ซม. เป็นจำนวนมาก ดอกจะทยอยบานพร้อมกันเกือบทั้งต้นในช่วงประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม สามารถบานทนอยู่ได้นานประมาณ 7 วัน ดอกมีกลิ่นหอมแรง โดยเฉพาะในช่วงเวลาสาย

ผล มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะกลายเป็นสีเหลือง ติดผลได้น้อย

จันดง
จันดง แผ่นใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบด้านล่างสีอ่อนกว่า
ดอกจันดง
ดอกจันดง ดอกย่อยสีขาวอมเขียว

การขยายพันธุ์ของจันดง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่จันดงต้องการ

ประโยชน์ของจันดง

สรรพคุณทางยาของจันดง

  • เนื้อไม้และแก่น รสขมหวาน ต้มน้ำดื่ม บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ตับปอดและดีพิการ แก้เหงื่อตกหนัก ขับพยาธิ
  • ลูกสุก รสฝาดหวาน กินสด แก้อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย แก้ท้องเสีย บำรุงประสาท
ผลจันดง
ผลจันดง ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของจันดง

การแปรรูปของจันดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11585&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment