จันทน์ผา เหมาะในการจัดสวนเนื่องจากใบไม่ร่วงและดอกมีกลิ่นหอม

จันทน์ผา

ชื่ออื่นๆ : จันทน์แดง (ภาคกลาง-สุราษธานี, ลักกะจันทน์ (Central) จันทน์ผา (ภาคเหนือ), ลักจั่น

ต้นกำเนิด : ในประเทศไทย โดยเฉพาะตามป่าเขา

ชื่อสามัญ : จันทน์ผา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena loureiri Gagnep

ชื่อวงศ์ : AGAVACEAE

ลักษณะของจันทน์ผา

ต้น เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ต้นขนาดเล็ก ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไข่ เมื่อต้นโต จะแผ่กว้าง เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว ลำต้นมีความแข็งแกร่งมาก การแตกใบจะแตกออกบริเวณยอด

ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับถี่ ๆที่ปลายกิ่ง ใบรูปแถบยาวแคบ กว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 45-60 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนทับ กันรอบลำต้น ใบสีเขียวเข้ม เป็นรูปหอก ใบเรียวและยาว ปลายใบแหลมใบยาวประมาณ 45-50 ซ.ม และกว้างประมาณ 4-5 ซ.ม.

ต้นจันทน์ผา
ต้นจันทน์ผา เปลือกต้นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ดอก ดอกสีขาวนวลตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ ตามซอกใบที่ปลายกิ่ง มีดอกจำนวนมาก กลีบดอก 6 กลีบ ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม

ดอกจันทน์ผา
ดอกจันทน์ผา ดอกสีขาวนวลตรงกลางดอกมีจุดสีแดง มีกลิ่นหอม

ผล  ผลสด ทรงกลมขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นพวง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงคล้ำ มีเมล็ดเดียว

ผลจันทน์ผา
ผลจันทน์ผา ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงคล้ำ

การขยายพันธุ์ของจันทน์ผา

โดยการปักชำ เป็นไม้ทนทานต่อการทำลายของโรคและแมลงได้เป็นอย่างดี

ธาตุอาหารหลักที่จันทน์ผาต้องการ

ประโยชน์ของจันทน์ผา

  • เหมาะในการจัดสวนเนื่องจากต้นที่สวยงาม ใบไม่ร่วง และ มีดอกที่หอม และสวยงาม
  • ปลูกเป็นไม้ประธานในสวนหิน ปลูกเป็นกลุ่มปลูกประดับในอาคาร สระว่ายน้ำ ริมทะเล ทนลมแรง ทนเค็ม ไม่ทนน้ำท่วมขัง

สรรพคุณทางยาของจันทน์ผา

แก่น มีรสขมเย็น ใช้แก้ไออันเกิดจากซางและดี บำรุงหัวใจ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บาดแผล และใช้เป็นส่วนผสมในน้ำยาอุทัย ใช้ทำยาหอม ช่วยบำรุงหัวใจ ดับพิษไข้

คุณค่าทางโภชนาการของจันทน์ผา

การแปรรูปของจันทน์ผา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11216&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment