จิกบ้าน
ชื่ออื่นๆ : จิกบ้าน (กรุงเทพฯ) ปูตะ (มลายู – นราธิวาส)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอฟริกาและออสเตรเลีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barringtonia racemosa (L.) Spreng.
ชื่อวงศ์ : Lecythidaceae
ลักษณะของจิกบ้าน
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กสูง 4-8 เมตร ลำต้นมีปุ่มปมเปลือกเป็นสีเทา ถึงน้ำตาลเทาเรียบถึงแตกเป็นแผ่นเปลือกชั้นในสีเหลืองแกมน้ำตาล ถึงชมพุ มีเส้นใยเหนียว
ใบ เป็นเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบคล้ายกระดาษ ไม่นุ่ม ใบรูปรีแกมรูปไข่กลับ ถึงรูปหอกแกมรูปไข่กลับ ขนาด 6-18 x 20-3 ซม. ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม ฐานใบ สอบแคบ ขอบใบหยักละเอียด เส้นใบ 13-18 คู่ ก้านใบอวบสั้น ยาว 0.5-1 ซม.
ดอก ออกที่ปลายกิ่ง เป็นช่อกระจะ ยาว 30-60 ซม. ช่อดอกห้อยลง ดอกใหญ่เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 ซม. ใบประดับรูปสามเหลี่ยม หลอดกลีบเลี้ยงเปิดออก มี 2-5แฉก ขนาดไม่เท่ากันกลีบดอก สี่ กลีบ ยาว 2-2.5 ซม. ไม่ติดกัน สีชมพูหรือขาวอมชมพูรูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมขอบขนาน แผ่ออกกว้างเกสรเพศผู้ก้านยาว จำนวนมาก รวมกันเป็นพู่ ออกดอกเดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ผล สีเขียวถึงสีเขียวอมม่วง รูปไข่ถึงรูปรี ขนาด 3-4 x 5-8ซม. ปลายผลแหลมทั้งสองด้านมีกลีบเลี้ยงสองด้าน มีกลีบเลี้ยง 2-4 กลีบ
การขยายพันธุ์ของจิกบ้าน
การเพาะเมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่จิกบ้านต้องการ
ประโยชน์ของจิกบ้าน
- ใบอ่อนของต้นจิกสวนสามารถนำมาใช้รับประทานเป็นผักสดได้ มีรสชาติดีเฉพาะตัว แต่ค่อนข้างฝาดเล็กน้อย
- ยอดอ่อนและดอกจะนิยมรับประทานเป็นผักสด หรือรับประทานเป็นผักจิ้มกับลาบ แจ่ว น้ำตก หรือขนมจีน
- นิยมปลูกให้ร่มเงาริมน้ำ
- ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
สรรพคุณทางยาของจิกบ้าน
- ผลนำมาตำเอาแต่น้ำใช้รับประทานช่วยแก้อาการไอ
- ใบใช้ตำพอก ช่วยแก้ไข้ทรพิษ หรือจะใช้ใบตำรวมกับรากและเปลือกก็มีสรรพคุณเช่นเดียวกัน
- ผลใช้ตำพอกแก้ผิวหนังพุพองและใช้พอกแก้เจ็บคอ
คุณค่าทางโภชนาการของจิกบ้าน
การแปรรูปของจิกบ้าน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10781&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com