เสี้ยวดอกขาว
ชื่ออื่นๆ : เสี้ยวดอกขาว (เสี้ยวป่าดอกขาว) นางอั้ว (เชียงใหม่,ตะวันออกเฉียงเหนือ) เปียงพะโก (สุโขทัย) โพะเพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ต้นกำเนิด : อินเดีย, มาเลเซีย
ชื่อสามัญ : Orchid Tree, Purple Bauhinia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia variegata Linn.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE
ลักษณะของเสี้ยวดอกขาว
ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงของต้นได้ถึง 15 เมตร เรือนยอดกลม
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ กว้างถึงค่อนข้างกลม โดยมีลักษณะเป็น 2 พู ปลายใบเว้าลึก ส่วนโคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของใบประมาณ 6-18 เซนติเมตร และมีเส้นใบออกจากโคนของใบ

ดอก ดอกมีกลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อสั้นตามกิ่งจำนวนดอกน้อย ดอกมีสีขาวกลีบตั้ง มีเส้นริ้วด้านในสีเหลืองหรือสีแดงชัดเจน (และสีของดอกอาจแตะต่างไปจากนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 20-30 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์

ผล ฝักมีลักษณะแบน ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นสีน้ำตาล เมื่อแก่จะแตก 2 ซีก ติดผลเดือนมีนาคม-กรกฎาคม

การขยายพันธุ์ของเสี้ยวดอกขาว
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่เสี้ยวดอกขาวต้องการ
เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด
ประโยชน์ของเสี้ยวดอกขาว
- ใบอ่อนและดอกอ่อนประกอบอาหาร
- เปลือกมีสารแทนนินใช้ย้อมแห อวน ให้คงทน
- ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ “เสี้ยวดอกขาว” เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดน่าน
สรรพคุณทางยาของเสี้ยวดอกขาว
- ฝักแก่ มีรสหวาน ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบายเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการท้องผูกเป็นประจำ
- ดอกใช้เป็นยาดับพิษไข้
- เปลือกไม้ใช้รักษาอาการท้องร่วง โรคบิด มาลาเรีย เลือดกำเดาไหล โรคผิวหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของเสี้ยวดอกขาว
การแปรรูปของเสี้ยวดอกขาว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11607&SystemType=BEDO
www.flickr.com