จิงจูฉ่าย พืชล้มลุก ใบมีลักษณะรูปทรงรี ขอบเป็นแฉก 5 แฉก สีเขียว

จิงจูฉ่าย

ชื่ออื่นๆ : จิงจูฉ่าย หรือ โกฐจุฬาลัมพาขาว

ต้นกำเนิด : มณฑลกุ้ยโจว ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : White mugwort

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artemisia lactiflora

ชื่อวงศ์ : Asteraceae

ลักษณะของจิงจูฉ่าย

เป็น พืชสมุนไพร ล้มลุก ทรงพุ่มเล็ก สูงประมาณ 1 ฟุต ใบมีลักษณะรูปทรงรี ขอบเป็นแฉก 5 แฉก สีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย เมื่อโตเต็มที่จะแตกกิ่งออกเป็นกอคล้ายใบบัวบก รากมีขนาดใหญ่ กระจายเป็นวงกว้าง  แตกกิ่งก้านแขนง ค่อนข้างหนาแน่นเป็นกอ และมีกลิ่นหอม

จิงจูฉ่าย
จิงจูฉ่าย ใบรูปทรงรี ขอบเป็นแฉก 5 แฉก สีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย

การขยายพันธุ์ของจิงจูฉ่าย

เมล็ด ปลูกได้ดีในอากาศเย็น

ธาตุอาหารหลักที่จิงจูฉ่ายต้องการ

ประโยชน์ของจิงจูฉ่าย

นิยมนำไปใส่ในเมนู  ต้มเลือดหมู เพราะช่วยดับกลิ่นคาวเลือดได้

สรรพคุณทางยาของจิงจูฉ่าย

เป็นยาเย็น (หยิน) ช่วยแก้ไข้ บำรุงปอด ฟอกเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนดี แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ต้นและใบมี น้ำมันหอมระเหย เช่น ไลโมนีน (limonene) ซิลินีน (selinene) และสาร glycosides ชื่อว่า อะปิอิน (apiin) มีสรรพคุณ ทางยา คือ ช่วยลดความดันโลหิตทำให้เส้นเลือดขยายตัว ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และยังมีสรรพคุณเด่น คือ จิงจูฉ่ายช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็ง จึงนิยมนำใบจิงจูฉ่ายมาคั้นเป็นน้ำดื่มกินทุกวัน

คุณค่าทางโภชนาการของจิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย 100 กรัม ให้พลังงาน 392 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
โปรตีน 18 กรัม
ไขมัน 25 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 41 กรัม
เส้นใย 11 กรัม
แคลเซียม 1,767 มก.
เหล็ก 45 มก.
ฟอสฟอรัส 547 มก.
วิตามินเอ 52.0 IU.
วิตามินบี6 0.9 มก.
วิตามินซี 17 มก.
วิตามินอี 1 มก.

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีเบื้องต้นของสารสกัดหยาบจากจิงจูฉ่ายด้วยเทคนิค TLC (Thin layer chromatography) โดยใช้ mobile phase คือ Methanol: Acetone: Ethyl acetate: Acetic acid (อัตราส่วน 30: 20: 2: 1) พบว่าใบสดจิงจูฉ่ายจากภาคเหนือ (จังหวัดเชียงราย) มีสารสำคัญโดยรวมมากกว่าใบสดจิงจูฉ่ายจากภาคกลาง (จังหวัดนนทบุรี) ภายหลังผ่านกระบวนการแปรรูปจากใบสดเป็นชาจิงจูฉ่าย พบว่าสารสำคัญในชาจิงจูฉ่ายจากจังหวัดเชียงรายและจังหวัดนนทบุรี มีปริมาณใกล้เคียงกัน แต่สารสำคัญที่เป็นตัวยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง คือ Artemisinin มีปริมาณค่อนข้างน้อยมากๆ ยังต้องมีการศึกษาด้วยเทคนิคอื่นๆ เพิ่มเติมต่อไป

การแปรรูปของจิงจูฉ่าย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10942&SystemType=BEDO
https://www3.rdi.ku.ac.th/?p=63372
https://www.flickr.com

Add a Comment