ฉัตรพระอินทร์
ชื่ออื่นๆ : เสกกษัตริย์(ชัยภูมิ), จ่อฟ้า(ตาก), นางอั้วโคก(โคราช), เทียนป่า(ปราจีนบุรี), หญ้าเหลี่ยม(สุราษฎร์ธานี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Lion ‘s ear, Hallow stalk
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leonotis nepetifolia ( L.) R.Br.
ชื่อวงศ์ : Labiatae
ลักษณะของฉัตรพระอินทร์
ไม้พุ่มล้มลุก ลำต้นสูงชะลูด แตกกิ่งแขนงมากบริเวณใกล้ปลายยอด ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นมีสีเขียวเป็นเหลี่ยม ใบ เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบตรงข้าม แผ่นใบกว้าง แข็งและหนา ขอบใบหยัก ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว เข้ม ก้านใบยาว ดอก ออกเป็นช่อเป็นคู่ตรงข้ามกัน สีส้มสด หรือแดงอมส้ม กลุ่มดอกย่อยจะเกิดติดกันรอบๆ ลำต้น และมีใบแซมออกจากก้านรอบทิศทางมีลักษณะคล้ายฉัตร จะเริ่มออกดอกเมื่อต้นเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว ผล มีรูปร่างกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลมีสีเขียว เมล็ดกลม
การขยายพันธุ์ของฉัตรพระอินทร์
ใช้เมล็ด/พบขึ้นในบริเวณที่มีความชุ่มชื้น ดินร่วนซุย ตามป่าละเมาะ ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ฉัตรพระอินทร์ต้องการ
ประโยชน์ของฉัตรพระอินทร์
ไม้ประดับ ดอกใช้ปักแจกันประดับเพื่อความสวยงาม
สรรพคุณทางยาของฉัตรพระอินทร์
เป็นยาสมุนไพร รักษาโรคมาเลเรีย แก้แผลถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก แก้ไข้ โรคปวดข้อ เป็นยาระบาย ขับระดู แก้คัน กลากเกลื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของฉัตรพระอินทร์
การแปรรูปของฉัตรพระอินทร์
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11716&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com