ฉิ่ง ผลอ่อนรสชาติฝาดมันรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริกหรือใช้ใส่แกง

ฉิ่ง

ชื่ออื่นๆ : ชิ้งขาว, จิ้งขาว, ซิ้งขาว, มะเดื่อซิ้ง, เดื่อฉิ่ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Duea ching

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ficus fistulosa Reinw.ex.RI.

ชื่อวงศ์ : MORACEAE

ลักษณะของฉิ่ง

เป็นไม้ยืนต้นตระกูลมะเดื่อสูงประมาณ 3 – 5 เมตร แตกกิ่งก้านมาก เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาล อมเขียว

ใบ ใบเดี่ยวขนาดใหญ่สีเขียวเข้มกว้างประมาณ 5-6 นิ้ว ยาวประมาณ 8 นิ้ว ก้านใบสีแดง หน้าใบเรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบ หลังใบมีก้านใบนูน

ผล ผลกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.2ซม. ผลออกตามต้นและกิ่งก้าน มีลักษณะเป็นช่อ ๆ ละประมาณ 5-30 ผล ผลกลมสีเขียว ข้างในมีเมล็ดเล็กๆ สีชมพูอ่อน

มะเดื่อฉิ่ง
ฉิ่ง ใบเดี่ยวขนาดใหญ่สีเขียวเข้ม ก้านใบสีแดง

การขยายพันธุ์ของฉิ่ง

ใช้เมล็ด, ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ฉิ่งต้องการ

ประโยชน์ของฉิ่ง

ผลอ่อน รสชาติฝาดมันรับประทานเป็นผักสดจิ้มน้ำพริก(ผักเหนาะ) หรือใช้ผลใส่ แกงกะทิ แกงพุงปลา แกงส้ม หรือกินร่วมกับน้ำพริก ขนมจีนน้ำยา หรือแกงชนิดต่าง ๆ บางคนนิยมนำไปปรุงใส่แกงเผ็ด

ผลมะเดื่อฉิ่ง
ผลฉิ่ง ผลกลสีเขียว

สรรพคุณทางยาของฉิ่ง

  • เปลือกต้น มีรสฝาด รับประทานแก้ท้องร่วง ชะล้างบาดแผล เป็นยาสมานดี
  • ราก เป็นยาแก้ไข้ กระทุ้งพิษไข้ แก้ไข้หัว ไข้กาฬ ไข้พิษทุกชนิด กล่อมเสมหะ และโลหิต

คุณค่าทางโภชนาการของฉิ่ง

การแปรรูปของฉิ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10439&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment