ชบา ไม้ประดับ ดอกสีแดง รากรับประทานช่วยขับน้ำย่อย

ชบา

ชื่ออื่นๆ : ใหม่แดง, ใหม่ (เหนือ) ชุมบา, ชบาขาว, ชุมมา (ปัตตานี) บา, ชะมา (ใต้) บูงารายา (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Hibiscus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis L.

ชื่อวงศ์ : Malvaceae

ลักษณะของชบา

ลำต้น ไม้พุ่ม ลำต้นสูงประมาณ 1-1.5 เมตร เส้นรอบวงประมาณ 28-30 เซนติเมตร ลำต้นสีเทา ผิวลำต้นขรุขระ

ใบ ใบเดี่ยว การเรียงตัวของเส้นใบร่างแหแบบขนนก ใบรูปไข่ ปลายใบแหลม  โคนใบมน ขอบใบหยักหรือมน  เนื้อใบคล้ายกระดาษ ใบเรียงแบบสลับ ด้านบนแผ่นใบเกลี้ยง ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 5-9 เซนติเมตร ยาวประมาณ 7-12 เซนติเมตร

ดอก ดอกช่อกระจะ กลีบดอกในตาดอกเรียงซ้อนเหลื่อมกัน ดอกสมมาตรตามรัศมี วงกลีบดอกเชื่อมติดกันรูปดอกเข็ม  กลีบดอกสีแดง กลีบดอก 5 กลีบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เกสรตัวผู้จำนวนมาก เกสรตัวเมีย 5 อัน

ผล ผลสดเมล็ดแข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล

เมล็ด รูปร่างกลม มี 1 เมล็ด สีน้ำตาลแก่

ต้นชบา
ต้นชบา ไม้พุ่ม เนื้อใบคล้ายกระดาษ ใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีเขียว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม
ดอกชบา
ดอกชบา กลีบดอกสีแดง 5 กลีบ

การขยายพันธุ์ของชบา

การปักชำ การเสียบยอด การติดตา

ธาตุอาหารหลักที่ชบาต้องการ

ประโยชน์ของชบา

  • ปลูกเป็นไม้ประดับ
  • ดอกสดใช้ขัดรองเท้าให้มัน
  • ดอก ให้สีแดงสําหรับย้อมผ้า

สรรพคุณทางยาของชบา

  • รากสด ตำพอกฝี
  • ราก รับประทานช่วยขับน้ำย่อย
  • ดอกตำพอกหรือทาบำรุงเส้นผม ดับพิษฝี ขับน้ำย่อย เจริญอาหารลดไข้ ขัยระดู

คุณค่าทางโภชนาการของชบา

การแปรรูปของชบา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9604&SystemType=BEDO
http://srdi.yru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment