ชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
ชื่ออื่นๆ : ชมพู่พลาสติก, ชมพู่แก้ว, ชมพู่เทียน
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Rose apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium jambos (L.) Alston
ชื่อวงศ์ : Myrtaceae
ลักษณะของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
ต้น เป็นไม้ต้นทรงพุ่มขนาดกลาง ต้นมีทรงพุ่มทึบ ลำต้นมีเปลือกแข็ง
ใบ ใบรูปหอก เรียบหนาเป็นมัน โคนมนปลายเรียวแหลมรี ใบอ่อนมีสีเขียว ใบแก่มีสีเขียว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ จะมีดอกออกเป็นกระจุก มีก้านดอกยาว ดอกออกตามซอกใบหรือตามยอดกิ่ง กลีบดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบเลี้ยงมีสีเขียวปนเหลือง มีเกสรยาวฝอยฟูมีสีขาว มีกลิ่นหอม
ผล ผลรูปทรงคล้ายระฆังคว่ำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 4-6 ซม. ยาว 7-9 ซม. แต่ละพันธุ์มีขนาด ความยาว และสีสันแตกต่างกัน มีทั้งสีแดง สีเขียว หรือเขียวมีแดงแทรก เนื้อชมพู่ฉ่ำน้ำ รสชาติมีตั้งแต่จืดกระทั่งหวานจัด มีกลิ่นหอม บางพันธุ์มีเมล็ด บางพันธุ์มีเฉพาะไส้ ชมพู่พลาสติก หรือชมพู่แก้ว ขนาดเล็ก รูรงแป้น ผิวสีแดงสด เนื้อน้อย รสเปรี้ยว ให้ผลช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
การขยายพันธุ์ของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่ชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้วต้องการ
ประโยชน์ของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
ปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับตามบ้าน
สรรพคุณทางยาของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
- ผลกินแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี
- มีวิตามินซีป้องกันโรคหวัด
- โรคเลือดออกตามไรฟัน
- มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินปี1 และวิตามินบี 2
คุณค่าทางโภชนาการของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
การแปรรูปของชมพู่พลาสติก หรือ ชมพู่แก้ว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11211&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com