ชมพู่มะเหมียว
ชื่ออื่นๆ : ชมพู่มะเหมี่ยว, มะเหมี่ยว, ชมพู่สาแหรก, ชมพู่แดง
ต้นกำเนิด : มาเลเซีย
ชื่อสามัญ : Pomerac, Malay Apple
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium malaccense (L.) Merr. & L.M.Perry
ชื่อวงศ์ : MYRTACEAE
ลักษณะของชมพู่มะเหมียว
ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 6-15 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขามาก ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาลอ่อนผิวเรียบเป็นไม้ผล เรือนยอกทรงกลมหนาทึบ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับกันเป็นคู่ เนื้อใบหนาผิวใบเป็นมันใบแก่สีเขียวเข้มออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่นปลายกิ่ง
ดอก ออกตามกิ่งที่มีขนาดใหญ่ (cauliferous) ดอกมี ขนาดใหญ่สีชมพูเข้มหรือสีแดง มีเกสรตัวผู้และก้านชูเกสรเป็น สีชมพูเด่นชัด ติดอยู่โดยรอบที่ขอบของฐานรองดอกจะอยู่ แยกกัน ขนาดยาว 4-5 ซม. เกสรตัวเมียมีรังไข่ฝังอยู่ใน ฐานรองดอกตรงกลาง
ผล ทรงกลมหรือรียาว รูประฆัง ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่เป็นสีแดงหรือขาวลายแดงและขาว เมล็ดขนาดใหญ่ 1 เมล็ด ออกผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม
การขยายพันธุ์ของชมพู่มะเหมียว
ใชเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ชมพู่มะเหมียวต้องการ
ประโยชน์ของชมพู่มะเหมียว
- ชมพู่มะเหมี่ยวสามารถทานได้ทั้งผลสุก และเกษร ซึ่งมีรสเปรี้ยว นิยมนำไปต้มรวมกับผลไม้อื่น ๆ ให้มีรสเปรี้ยวน้อยลง
- เป็นไม้ผลที่ปลูกไว้ที่บ้าน ชมพู่มะเหมี่ยวเป็นไม้ผลที่มีระบบรากไม่เป็นอันตรายต่อตัวบ้าน อีกทั้งโตช้า จึงเหมาะสมจะปลูกไว้ประจำบ้านที่สุด
สรรพคุณทางยาของชมพู่มะเหมียว
- รากแก้คัน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
- เปลือกราก ขับประจำเดือน
- ใบ แก้บิดผล
- เปลือกลำต้น ใบและรากมีสรรพคุณเป็นยา รสชุ่มคอ มีวิตามินซี และแคลเซียมสูง เสริมสร้างกระดูกและฟัน
คุณค่าทางโภชนาการของชมพู่มะเหมียว
การแปรรูปของชมพู่มะเหมียว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11108&SystemType=BEDO
http://srdi.yru.ac.th/bcqy/view/169_%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7
เคล็ดลับ ให้ปลุกข้างๆ กอกล้วย จะดกงอกงาม