ชมพู่แก้มแหม่ม
ชื่ออื่นๆ : ชมพู่แก้มแหม่ม (กลาง) ชมพู่กะหลาป๋า, ชมพู่ขาว, ชมพู่เขียว, ชมพู่นาก (กรุงเทพ) ยามูปะนาวา (มาเลย์-นราธิวาส)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อสามัญ : Java Apple , Wax Apple , Wax Jambu
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium samarangense
ชื่อวงศ์ : Myrtaceae
ลักษณะของชมพู่แก้มแหม่ม
เป็นลำต้นเดี่ยวทรงสูงตั้งตรงมีผิวผิวเปลือกลำต้นที่เป็นรอยขรุขระ แตกกิ่งก้านออกมากพอควร ใบ : เป็นรูปหอกปลายแหลมค่อนข้างยาว ส่วนแคบของใบกว้าง 3 – 5 เซนติเมตร และยาว 15 – 20 เซนติเมตร ใบหนาเป็นมันขอบใบเรียบและก้านใบสั้น ดอก มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 7 เซนติเมตร มีสีขาว เกสรตัวผู้ มีจำนวนมาก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผล ผลและรูปร่างของผลเป็นรูปทรงกลมแบนหรือรูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง มีสีขาวอ่อนเนื้อขาวบางและกรอบ รสหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม เมล็ด : เป็นสีน้ำตาล มีจำนวน 1 – 2 เมล็ด ถ้ามี 2 เมล็ด จะมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกัน เมล็ดเป็นสีน้ำตาล มีจำนวน 1 – 2 เมล็ด ถ้ามี 2 เมล็ด จะ มีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมประกัน

การขยายพันธุ์ของชมพู่แก้มแหม่ม
การปักชำหรือการตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่มากชมพู่แก้มแหม่มต้องการ
ประโยชน์ของชมพู่แก้มแหม่ม
สามารถปลูกประดับตกแต่งสนามในเนื้อที่บ้านขนาดเล็กได้สามารถปลูก จำหน่ายผลผลิต และเป็นไม้เศรษฐกิจด้วยก็ได้ ให้ร่มเงา สดชื่น

สรรพคุณทางยาของชมพู่แก้มแหม่ม
ผล ใช้ปรุงเป็นยาชูกำลังทำให้จิตใจเบิกบานใบ ใช้ลดไข้แก้เจ็บตา
เมล็ด ใช้แก้ท้องเสีย รักษาโรคเบาหวาน
คุณค่าทางโภชนาการของชมพู่แก้มแหม่ม
การแปรรูปของชมพู่แก้มแหม่ม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9854&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com