ช้าแป้น
ชื่ออื่นๆ : ผ้า (เชียงใหม่), สักขี้ไก่ (ลำปาง), เตน (เลย), เสี้ยม (จันทบุรี), ทับแป้ง (สระบุรี), หูควายใหญ่ (ชุมพร), หูควายขาว (สุราษฎร์ธานี), หูควาย (ตรัง), กะตอกช้าง ตาโมงปะสี (ยะลา), ฝ้า ฝ้าขาว พ่าขาว
หูควาย (ภาคเหนือ), ผ้า (ภาคกลาง), ผ้าลาย (ภาคใต้), กะตอกช้าง ตาโมงปะสี ขลุ่ย (กะเหรี่ยง เชียงใหม่), เปอควุย และทุ่ง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ดือดะดาปู (มลายู นราธิวาส)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Beautyberry tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callicarpa arborea Roxb
ชื่อวงศ์ : LABIATAE (VERBENACEAE)
ลักษณะของช้าแป้น
ต้น เป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงได้ประมาณ 4-12 เมตร กิ่งอ่อนค่อนข้างเป็นเหลี่ยมสี่มุม มีขนนุ่มสีน้ำตาลอมเทา เปลือกต้นขรุขระมีรอยแตกเป็นร่องๆ ตามส่วนต่างๆ ที่ยังอ่อนจะมีขนสั้นสีเทาหรือสีเหลืองขึ้นปกคลุม เนื้อไม้เป็นสีขาว ค่อนข้างอ่อนและเบา ขัดให้เป็นเงาได้ง่าย ออกดอกในช่วงเดือนมีนาคม และเป็นผลในช่วงปลายฤดูฝน มีเขตการกระจายพันธุ์จากอินเดียตะวันออกถึงมาเลเซียและสุมาตรา พบขึ้นทั่วไปตามป่าผลัดใบ ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งบนเขา ที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงระดับความสูงประมาณ 1,200 เมตร
ใบ ใบช้าแป้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ลักษณะของใบเป็นรูปวงรี รูปวงรีแกมขอบขนาน หรือเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบหรือหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-30 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบมีประมาณ 8-12 คู่ ก้านใบยาวประมาณ 2.5-6 เซนติเมตร
ดอก ดอกช้าแป้น ออกดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกบริเวณซอกใบ ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ดอกย่อยมีจำนวนมาก ดอกมีขนาดเล็กเป็นสีม่วง กลีบดอกเป็นสีม่วง เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 กลีบ ขนาด 3 มิลลิเมตร ส่วนกลีบรองดอกปลายเกือบเป็นเส้นตรง ขนาดประมาณ 15 มิลลิเมตร
ผล ผลช้าแป้น ผลเป็นผลสดขนาดเล็ก ฉ่ำน้ำ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร ผิวผลเรียบ ผลเป็นสีม่วง ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของช้าแป้น
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ช้าแป้นต้องการ
ชอบดินร่วนระบายน้ำได้ดี
ประโยชน์ของช้าแป้น
ใบใช้เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์
สรรพคุณทางยาของช้าแป้น
ตำรายาพื้นบ้านจะใช้แก่นช้าแป้น ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ อีกรวม 35 ชนิด แล้วนำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้เปลี่ยนฤดูหรือสุกใส (แก่น)
ตำรายาพื้นบ้านล้านนาจะใช้เปลือกต้นช้าแป้น นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้ง และนั่งแช่รักษาอัมพาตระยะที่เพิ่งเป็นใหม่ๆ (เปลือกต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของช้าแป้น
การแปรรูปของช้าแป้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11827&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com