ดาวเรืองฝรั่ง ดอกมีสีเหลืองปนส้ม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ดาวเรืองฝรั่ง

ชื่ออื่นๆ : ดาวเรืองหม้อ (กรุงเทพฯ), จินจ่านจวี๋ (จีนกลาง), กิมจั้วเก็ก (จีนแต้จิ๋ว)

ต้นกำเนิด : ยุโรปตอนใต้

ชื่อสามัญ :  Common marigold, Cape marigold, English marigold, Garden marigold, Scottish marigold, Marigold, Ruddles

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calendula officinalis L.

ชื่อวงศ์ : Asteraceae หรือ Compositae

ลักษณะของดาวเรืองฝรั่ง

ต้น เป็นไม้ล้มลุก  ตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 33 – 48 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามากที่โคนต้น ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย ตามกิ่งและก้านจะมีร่องเหลี่ยม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาดยาวประมาณ 2.2 – 7.8 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบ ใบที่อยู่ตรงโคนก้านจะมีขนาดใหญ่เรียงกันขึ้นไปหาเล็ก แผ่นใบมีสีเขียวอ่อน

ดอก  ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกบริเวณปลายต้น ดอกมีสีเหลืองหรือสีเหลืองปนส้ม กลีบดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะเป็นรูปแกมขอบขนานเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ หลาย ๆ ชั้น หรือเรียงซ้อนกันเป็นวงหลายวง ดอกวงนอกเป็นดอกเพศเมีย ส่วนดอกวงในเป็นดอกเพศผู้ ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.3 – 7.8 เซนติเมตร ปลายดอกแยกออกเป็นแฉก ๆ กลีบดอกทั้งหมดจะมีขนแข็งติดอยู่ที่โคน บริเวณใต้ดอกมีกลีบเลี้ยงอยู่ 1-2 ชั้น

ผล  เป็นผลแห้ง มีลักษณะเป็นรูปขอบขนานโค้ง ยาวประมาณ 10 – 12 มิลลิเมตร มีขนเล็กน้อยหรืออาจเกลี้ย

ดาวเรืองฝรั่ง
ดาวเรืองฝรั่ง ลำต้นตั้งตรง ทั้งต้นมีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย

การขยายพันธุ์ของดาวเรืองฝรั่ง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ดาวเรืองฝรั่งต้องการ

ประโยชน์ของดาวเรืองฝรั่ง

ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบนำมาตากแห้งแล้วบดให้เป็นผงให้ใช้เป็นยานัตถุ์ได้

สรรพคุณทางยาของดาวเรืองฝรั่ง

  • ต้นใช้เป็นยาขมช่วยเจริญอาหาร
  • ดอกใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาลดไขมันในเลือด ลดคอเลสเตอรอล
  • รากมีรสจืด เป็นยาสุขุม ออกฤทธิ์ต่อตับและม้าม ใช้เป็นยาฟอกเลือด กระจายเลือดลมที่อุดตัน
ดอกดาวเรืองฝรั่ง
ดอกดาวเรืองฝรั่ง ดอกสีเหลืองปนส้ม กลีบดอกเรียงซ้อนกันเป็นชั้น

คุณค่าทางโภชนาการของดาวเรืองฝรั่ง

การแปรรูปของดาวเรืองฝรั่ง

ดาวเรืองฝรั่งเป็นสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ซึ่งมีความสำคัญสำหรับทารก โดยนำมาใช้ผสมในแป้งสำหรับโรยตัวเด็ก ผสมในน้ำสำหรับอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย เช่น คาโมไมล์ และคอมเฟรย์

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11492&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment