ลักษณะของดาหลา
ต้น : ดาหลา ชื่อวิทยาศาสตร์ Etlingera eliator K.Schum. อยู่ในวงค์ Zingiberales เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า เหง้านี้จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ตาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบช้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม
ใบ : มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างและค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบไม่มีก้าน ใบผิวเกลี้ยงทั้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30 – 80 เซนติเมตร กว้าง 10 – 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ฐานใบเรียว ลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ
ดอก : ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ head ประกอบด้วยกลีบประดับ มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่มีความกว้าง 2-3 เซนติเมตร จะมีสีแดงขลิบขาวเรียวซ้อนกันอยู่ และจะบานออก ประมาณ 25 -30 กลีบ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเล็กเรียงเป็นระดับมีประมาณ
ประโยชน์ของดาหลา
- ปลูกประดับบ้าน
- ช่อดอกนิยมใช้ปักแจกันได้ทนนาน
- นำมาทำอาหาร โดยใช้ส่วนดอกนำมาแกง
สรรพคุณทางยาของดาหลา
ส่วนที่ใช้ : เหง้าหัว ต้น หน่ออ่อน ดอก
- เหง้าหัว รสเผ็ดร้อนเฝื่อน ต้มรับประทานและอาบ แก้โรคประดง ผื่นคันตามผิวหนัง
- ต้น-หน่ออ่อน-ดอก รสเผ็ดร้อนซ่า แก้เสมหะ แก้ลมแน่นหน้าอออก (อุระเสมหะ) บำรุงเตโชธาตุให้สมบูรณ์ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
- ดอก ช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อได้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ :
http://www.bedo.or.th
http:// www.ananhosp.go.th
https://www.flickr.com