ดีปลีเชือก ภาคใต้
ชื่ออื่นๆ : ดีปลีเชือก ภาคใต้ ประดงข้อ ปานนุ (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : เกาะโมลัคคาส ในมหาสมุทรอินเดีย
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper retrofracnon Vahl.
ชื่อวงศ์ : Piperaceae
ลักษณะของดีปลีเชือก ภาคใต้
ไม้เถา ขึ้นเลื้อยพัน ข้อมีรากสำหรับยึดเกาะ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปไข่แกมดอกขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 7-10 ซม. ผิวเกลี้ยงเป็นมัน โคนเบี้ยว ปลายแหลม ขอบเรียบ มีเส้นใบออกจากโคน 3-5 เส้น ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. ดอก ออกเป็นช่อแกน มีดอกย่อยเรียงแน่นบนช่อดอก ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ก้านช่อดอกยาวเท่ากับก้านใบ ช่อดอกเพศผู้ยาว 4-5 ซม. มีเกสรผู้ 2-3 อัน ช่อดอกเพศเมีย ยาว 3-4 ซม. ผล อัดกันแน่นบนแกนช่อ ยาว 2.5-5 ซม. ขนาดผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. โคนกว้าง ปลายมน เมื่อสุกสีน้ำตาลแกมแดง
การขยายพันธุ์ของดีปลีเชือก ภาคใต้
ใช้ส่วนอื่นๆ/การปลูก : นิยมปลูกโดยการใช้เถา ชอบดินร่วนและอุดมสมบูรณ์
ธาตุอาหารหลักที่ดีปลีเชือก ภาคใต้ต้องการ
ประโยชน์ของดีปลีเชือก ภาคใต้
ผล ใช้เป็นเครื่องเทศมีกลิ่นหอมและเผ็ดคล้ายพริกไทย รสคล้ายขิง
สรรพคุณทางยาของดีปลีเชือก ภาคใต้
ใบใช้เป็นยาขับลม แก้อาการอ่อนเพลีย ช่วยย่อยอาหาร
ผลแก่แห้งของดีปลี ใช้เป็นยารักษาอาการดังนี้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการปวดท้อง รวมทั้งแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ โดยการใช้ผลแก่แห้ง 1 กำมือ (ประมาณ 10-15 ดอก) ต้มเอาน้ำมาดื่ม ถ้าไม่มีดอกก็ใช้เถาต้มแทนได้ อาการไอและขับเสมหะ ใช้ผลแก่แห้งประมาณครึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวผสมเกลือกวาดในลำคอหรือจิบบ่อยๆ
คุณค่าทางโภชนาการของดีปลีเชือก ภาคใต้
การแปรรูปของดีปลีเชือก ภาคใต้
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10443&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com