หุนไห้ หรือ กระดูกอึ่ง ไม้พุ่มขนาดเล็ก ยอดอ่อน ใบ นำมารับประทานได้

หุนไห้

ชื่ออื่นๆ : ไกรทอง, แก่นแดง, เข็ดมูล, เจตมูล (ปราจีนบุรี) ต๋านฮ้วนเป็ด (เชียงใหม่) พิกุลทอง (ประจวบคีรีขันธ์) กระดูกอึ่ง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : หุนไห้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Erythroxylum cuneatum (Miq.) Kurz

ชื่อวงศ์ : Erythroxylaceae

ลักษณะของหุนไห้

ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 4-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นกลม กิ่งมักตั้งฉากกับลำต้น มีรอยแผลของหูใบ เกือบรอบกิ่ง เปลือกเรียบสีน้ำตาล เป็นร่องตามยาว เปลือกในสีเหลืองแกมน้ำตาล ไม่มีขน

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบหนา ปลายมน โคนสอบเรียว ด้านบนเนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง ขอบใบเรียบ เส้นกลางใบด้านล่างนูน เส้นแขนงใบละเอียด จำนวนมาก เรียงชิดเกือบขนานกัน ก้านใบยาว 3-5 มิลลิเมตร หูใบรูปสามเหลี่ยมถึงรูปใบหอก ยาว 5-7 มิลลิเมตร

ดอก  ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน ออกช่อกระจุก 3-4 ดอก กลิ่นหอมอ่อนๆ ตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว เขียวอ่อน หรือขาวแกมเขียว กลีบดอก และกลีบเลี้ยงมีอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกแยกจากกัน รูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร ยาว 3-4 มิลลิเมตร เหนือโคนกลีบด้านในมีเกล็ด เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมกันเป็นหลอดยาว 2-3 มิลลิเมตร ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปลายเรียวแหลม ใบประดับย่อยรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ก้านดอกยาว 4-10 มิลลิเมตร

ผล เป็นแบบผลผนังชั้นในแข็ง รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ยาว 8-10 มิลลิเมตร อุ้มน้ำ มีพูตามยาว 3 พู ด้านหน้าตัดคล้ายรูปสามเหลี่ยม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองหรือแดง เป็นมัน เมล็ดแบนโค้ง กว้าง 1-2 มิลลิเมตร ยาว 5-10 มิลลิเมตร พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบใกล้ชายทะเล และป่าดิบแล้ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน

หุนไห้
หุนไห้ ไม้พุ่ม ลำต้นกลม ด้านบนเนื้อใบหนาเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างเกลี้ยง ขอบใบเรียบ

การขยายพันธุ์ของหุนไห้

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หุนไห้ต้องการ

ประโยชน์ของหุนไห้

  • เป็นอาหาร ยอดอ่อน ใบ กินกับลาบหรือน้ำพริกได้
  • เปลือกต้นใช้เบื่อปลา
  • ทั้งต้น และรากแห้ง ต้มแก้ซาง
  • ประเทศฟิลิปปินส์ ใช้ ใบ เบื่อปลา

สรรพคุณทางยาของหุนไห้

ตำรายาพื้นบ้านอุบลราชธานี ใช้

  • ราก รักษาโรคไตพิการ บำรุงน้ำนม แก้ผิดสำแดง เปลือก ใช้เป็นส่วนผสมเครื่องยาบำรุงกำลังร่างกาย และใช้เบื่อปลา

ตำรายาไทย ใช้

  • เปลือกต้น รสเมา แก้เส้นเอ็นพิการ แก้ปวดเมื่อย และแก้เหน็บชา ตามปลายมือปลายเท้า

ยาพื้นบ้าน ใช้

  • เปลือกต้น เข้ายาบำรุงร่างกาย โดยใช้ราก 1-2 กำมือ ต้มดื่มต่างน้ำ แก้ไตพิการ (โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะ มีปัสสาวะขุ่นข้น เหลืองหรือแดง มักมีอาการแน่นท้อง กินอาหารไม่ได้)

คุณค่าทางโภชนาการของหุนไห้

การแปรรูปของหุนไห้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12219&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment