อีเหนียว พืชอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร

อีเหนียว

ชื่ออื่นๆ : อีเหนียว (ภาคกลาง) นางเหนียว หนาดออน (ภาคกลาง) หญ้าตืดแมว (ภาคเหนือ) หนูดพระผู้ (ตรัง) อ้ายเหนียว (กาญจนบุรี) กระตืดแป (เลย) นอมะช่าย (กะเหรี่ยง กาญจนบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : อีเหนียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium gangeticum (L.) DC.

ชื่อวงศ์ :  LEGUMINOSAE

ลักษณะของอีเหนียว

ต้น  จัดเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 60-150 เซนติเมตร กิ่งก้านอ่อน แตกกิ่งก้านที่ปลาย ตามลำต้นมีขนปกคลุมหนาแน่นถึงปานกลาง มีขนาดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีเขตการกระจายพันธุ์แอฟริกา เอเชีย มาเลเซีย และพบในทุกภาคของประเทศไทยตามป่าโปร่งทั่วไป ป่าเปิดใหม่ ที่ระดับสูงถึง 1,900 เมตร จากระดับน้ำทะเล

ใบ  ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยใบเดียว (ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ) ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีกว้างถึงรูปไข่ ปลายใบมน แหลม หรือเรียวแหลม โคนใบมนหรือกลมเป็นรูปหัวใจ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร เนื้อใบบาง หลังใบเป็นสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเขียวอมเทา มีก้านใบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร

ดอก  ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งมีหลายกระจุก กระจุกหนึ่งมีดอกประมาณ 2-6 ดอก รวมเป็นช่อแยกแขนง ดอกมีขนาดเล็กสีเขียวอมขาวหรือสีชมพู แกนกลางมีขนรูปตะขอโค้ง ใบประดับร่วงได้ง่ายทั้งคู่ ไม่มีใบประดับย่อย ก้านดอกย่อยยาว กลีบเลี้ยงดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังกว้าง ปลายแยกเป็นแฉก 4 แฉก กลีบเลี้ยงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปดอกถั่วสีขาวถึงสีชมพูอ่อน กลีบดอกยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีขนปกคลุม ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน เชื่อมติดกัน แยกเป็นสองมัด รังไข่มีขน ก้านดอกยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ออกดอกมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

ผล  ออกผลเป็นฝักรูปแถบ ฝักมีลักษณะแบนโค้งงอเล็กน้อย แบ่งเป็นข้อ ๆ ฝักหนึ่งจะมี 7-9 ข้อ ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1.2-2 เซนติเมตร ตามผิวมีขนรูปตะขอโค้งสั้น เมล็ดอีเหนียวมีลักษณะเป็นรูปไต และมีเยื่อหุ้มเมล็ด

ต้นอีเหนียว
ต้นอีเหนียว ลำต้นมีขนปกคลุม ใบรูปรีปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของอีเหนียว

พบขึ้นในดินทราย ถึงดินร่วนปนเหนียว ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100-543 เมตร เช่น พบที่อำเภอปากช่อง และอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (PC 077, PC 217) อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ (PC 074) กิ่งอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย (PC 210) อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี (PC 323) อำเภอวังทรายพูล จังหวัดพิจิตร (LP 092) อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (LP 213) ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 100 – 543 เมตร

ดอกอีเหนียว
ดอกอีเหนียว ดอกสีชมพู เป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ

ธาตุอาหารหลักที่อีเหนียวต้องการ

ประโยชน์ของอีเหนียว

เป็นพืชอาหารสัตว์และเป็นพืชสมุนไพร

สรรพคุณทางยาของอีเหนียว

ราก เป็นยาขับปัสสาวะ ยาพื้นบ้าน ใช้ราก ขับพยาธิไส้เดือนในเด็ก
ใบสด ตำพอกแผลถอนพิษสุนัขกัด (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)

คุณค่าทางโภชนาการของอีเหนียว

อายุ 75 – 90 วัน มีโปรตีน 14.4 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.87 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.11 เปอร์เซ็นต์ ADF 41.7 เปอร์เซ็นต์ NDF 60.4 เปอร์เซ็นต์ DMD 56.3 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag) ไนเตรท 862.2 พีพีเอ็ม ออกซาลิกแอซิด 708.8 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มิโมซีน 0.26 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.10 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบไนไตรท์

การแปรรูปของดูกอึ่ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11832&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment