ตะขาบหิน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษต่างๆ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป

ตะขาบหิน

ชื่ออื่นๆ : ว่านตะขาบ (เชียงใหม่), ตะขาบหิน (คนเมือง), เพว เฟอ (กรุงเทพฯ), ว่านตะเข็บ (ภาคเหนือ), ตะขาบปีนกล้วย (ภาคกลาง), ว่านจะเข็บ (ไทลื้อ), ตะขาบบิน ตะขาบทะยานฟ้า ผักเปลว (ไทย), แงกังเช่า (จีน)

ต้นกำเนิด : หมู่เกาะทางภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Homalocladium platycladum (F.Muell.) L.H.Bailey

ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE

ลักษณะของตะขาบหิน

ต้น  เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านจำนวนมาก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ต้นอ่อนแบนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและกลมขึ้น

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ หลุดร่วงได้ง่าย ลักษณะของใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอกแกมเส้นตรงมีขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายลำต้น ออกใบน้อยหรือไม่มีเลย ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 2-5 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม เนื้อใบอ่อนนิ่ม หลังใบและท้องใบเรียบ ไม่มีก้านใบ

ดอก ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่กันคนละต้น ออกดอกเป็นช่อสั้น ๆ ดอกเป็นช่อกระจุกเล็ก ๆ ตามข้อของลำต้น ดอกย่อยมีขนาดเล็กมากเป็นสีเขียวอ่อน กลีบดอกรวมเป็นสีขาวแกมสีเขียว มี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปไข่ ก้านดอกสั้น โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ก้านชูดอกมีขนาดสั้นมาก มีเกสรเพศผู้ล้อมรอบเกสรเพศเมียอยู่จำนวน 7-8 อัน ออกดอกและติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม

ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ฉ่ำน้ำ เป็นพู 5 พู ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสหวาน ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เมล็ดเดี่ยว เมล็ดเป็นสีเหลือง ลักษณะของเมล็ดเป็นสัน 3 สัน

ต้นตะขาบหิน
ต้นตะขาบหิน ไม้พุ่มแตกกิ่งก้านจำนวนมาก
ใบตะขาบหิน
ใบตะขาบหิน ใบเป็นรูปรีหรือรูปใบหอกแกมเส้นตรงมีขนาดเล็ก

การขยายพันธุ์ของตะขาบหิน

การปักชำ พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามพื้นที่ป่าทั่วไป โดยจะกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย

ธาตุอาหารหลักที่ตะขาบหินต้องการ

ประโยชน์ของตะขาบหิน

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป ปลูกเลี้ยงได้ง่าย เจริญเติบโตเร็ว

สรรพคุณทางยาของตะขาบหิน

  1. ทั้งต้นมีรสหวานสุขุม มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษต่าง ๆ พิษเลือด พิษร้อน พิษฝี พิษฝีในปอด
  2. ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าข้าว แล้วคั้นเอาน้ำใช้หยอดหู เพื่อรักษาหูเป็นน้ำหนวก
  3. ช่วยแก้อาการเนื่องจากปอด แก้อาการเจ็บคอ เจ็บอก
  4. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาแก้โรคผิวหนังเจ็บ ผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย งูสวัด ฝีมะตอย
  5. ใบนำมาทุบใช้ทาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  6. ทั้งต้นใช้ภายนอกเป็นยาระงับอาการปวด
  7. ต้นและใบสดนำมาตำผสมกับเหล้า นำมาพอกหรือเอาแต่น้ำมาใช้ทารักษาอาการฟกช้ำบวม เคล็ดขัดยอกได้ดี
  8. ต้นและใบสด นำมาตำผสมกับเหล้าพอกหรือคั้นเอาน้ำใช้เป็นยาทาถอนพิษตะขาบและแมงป่อง
ดอกตะขาบหิน
ดอกตะขาบหิน ดอกเป็นช่อกระจุกเล็กตามข้อของลำต้น

คุณค่าทางโภชนาการของตะขาบหิน

การแปรรูปของตะขาบหิน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11227&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment