ตะบูน
ชื่ออื่นๆ : กระบูน, กระบูนขาว, ตะบูน (กลาง,ใต้)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ตะบูนขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Xylocarpus granatum J.Koenig
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของตะบูน
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง ไม่ผลัดใบ ลำต้นสั้น แตกกิ่งใกล้โคนต้น พูพอนแผ่เป็นครีบคดเคี้ยวต่อเนื่องกับรากหายใจที่แบนคล้ายแผ่นกระดาน
ใบ ใบ ประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับถึงเวียนสลับห่างๆ ก้านช่อใบสีน้ำตาล แข็ง โคนป่อง โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบมนกลมหรือเว้าตื้น ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนสีเขียวคล้ำ ด้านล่างสีซีดกว่า เนื้อใบหนาถึงอวบน้ำ ใบแก่ก่อนร่วง สีส้มอมเหลือง ก้านใบย่อยสีน้ำตาล
ดอก ดอก แยกเพศอยู่ร่วมต้น แบบช่อเชิงลดมีก้านแยกแขนง ออกตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ช่อดอกโปร่งแตกแขนงไม่สมมาตร ช่อดอกย่อยมักแตกออกจากแกนกลาง ประกอบด้วยดอกย่อย 8-20 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก สีครีม สีนวล กลีบเลี้ยงจักเป็น 4 แฉก ขอบกลีบเรียงจรดกัน กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนาน แยกกันเป็นอิสระ เกสรเพศผู้ก้านเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปโถ สีแดงอมส้ม เกสรเพศเมียก้านสั้น ยอดเกสรรูปจาน ขอบหยัก
ผล ผล แบบผลแห้งแตกตามรอยประสาน ค่อนข้างกลม ขนาดใหญ่ มี 4 พู เปลือกแข็ง หนา สีน้ำตาลอมส้ม ผลแก่แตกเป็น 4 ซีก เปลือกเมล็ดชั้นนอกเป็นคอร์กหนา สีน้ำตาล เบา ลอยน้ำได้
การขยายพันธุ์ของตะบูน
เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ตะบูนต้องการ
ขึ้นได้ดีในน้ำกร่อย พบบ้างเล็กน้อยในบริเวณน้ำจืด
ประโยชน์ของตะบูน
- เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน ใช้ตกแต่งหรือทำเฟอร์นิเจอร์ได้ดี หรือเป็นเชื้อไฟ
- ทำสีย้อมผ้า โดยนำเปลือกต้มน้ำพร้อมกับผ้า
สรรพคุณทางยาของตะบูน
รักษาอาการท้องเสีย เป็นบิดรักษาแผลภายใน แก้โรคอหิวาต์ อาเจียนเป็นเลือด แผลสด เป็นหนอง แผลบวมฟกช้ำดำเขียว แก้ไอ
วิธีการปรุงยา :
ราก นำไปต้ม รับประทาน เช้า-เย็น แก้กร่อน แก้เส้นตึงเป็นเถาดา
เมล็ด รับประทานแก้ท้องร่วง โรคบิด
เปลือกต้นและผล รับประทานแก้โรคอหิวาต์ อาเจียนเป็นเลือด ให้คั้นน้ำมดแดงเอามาผสมกิน จะห้ามเลือดภายใน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี
เปลือก ต้มเป็นยาหม้อดื่มและตำให้ละเอียดแล้วพอกตรงบริเวณแผล รักษาอาการท้องเสีย เป็นบิดรักษาแผลภายใน แผลสด เป็นหนอง แผลบวมฟกช้ำดำเขียว
ใบ ต้มน้ำรับประทาน แก้หือ แก้ไอ
เมล็ด เพิ่มความแข็งแรงให้กับกะโหลกศีรษะของเด็กทารก นำมาบดด้วยน้ำปูนใส แล้วนำมาทาบนศีรษะของเด็ก
คุณค่าทางโภชนาการของตะบูน
การแปรรูปของตะบูน
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9653&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com