ตะลุมพุก ปลายกิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมยาว กลีบดอกสีขาวมีกลิ่นหอม

ตะลุมพุก

ชื่ออื่นๆ : กระลำพุก มะคังขาว (ภาคกลาง ราชบุรี สท)  ลุมพุก (ลพบุรี นว นครราชสีมา กาญจนบุรี) มอกน้ำข้าว มะข้าว (เหนือ); หนามแท่ง (ตาก); มะคัง (อุตรดิตถ์)  ลุมปุ๊ก (ตะวันออกเฉียงเหนือ) มุยขาว โรคขาว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ตะลุมพุก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamilnadia uliginosa

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของตะลุมพุก

ต้น  ลำต้นเป็นไม้พุ่มถึงไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. ตามปลายกิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมยาว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ เป็นปมขรุขระทั่วไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลเข้ม เนื้อไม้สีขาวปนน้ำตาลอ่อน ละเอียด สม่ำเสมอมาก (นิยมใช้แกะสลัก) กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมมน

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สีเขียวอ่อน รูปไข่กลับ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 8-14 ซม. มีหูใบเล็กๆ อยู่ระหว่างก้านใบ ผิวใบเรียบ ปลายใบมน โคนใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ หลังใบเรียบเป็นมันลื่น ท้องใบเรียบ เนื้อใบบาง ฉีกขาดง่าย ก้านใบยาวไม่เกิน 1 ซม. แผ่นใบมีขนประปรายปกคลุมด้านล่าง

ดอก  ออกที่ซอกใบ ใกล้ปลายยอด กลีบดอกทรงกลมใหญ่ สีขาว มี 5 กลีบ มีกลิ่นหอม โคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน ปลายกลีบดอกมน กลีบดอกค่อนข้างหนา หลอดกลีบยาวกว่ากลีบดอก ยอดเกสรตัวเมียมีน้ำเมือกค่อนข้างมาก กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม เกสรตัวผู้มี 5 อัน อับเรณูสีเหลือง เกสรตัวเมียมี 1 อัน ก้านเกสรสีขาว ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ปลายเกสรเพศเมียรูปถ้วย กลีบเลี้ยงสีขาวมี 5 กลีบ โคนเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก

ผล  ผลเดี่ยว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 ซม. ผลสด รูปไข่ กลมรี ยาว 4-6 ซม. เนื้อแน่น แข็ง ผิวผลเรียบ ผลสดสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง ปลายผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดรูปทรงกลมจำนวนมาก เมล็ดมักฝ่อ พบขึ้นตามริมน้ำ ในป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

ต้นตะลุมพุก
ต้นตะลุมพุก ปลายกิ่งก้านและลำต้นมีหนามแหลมยาว ใบรูปไข่กลับ

การขยายพันธุ์ของตะลุมพุก

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะลุมพุกต้องการ

ประโยชน์ของตะลุมพุก

ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี  รากและแก่น ต้มน้ำดื่ม เข้ายาแก้ปวดเมื่อย ช่วยบำรุงเลือด แก่น ผสมแก่นมะคังแดง ต้มน้ำดื่ม บำรุงกำลัง ผล และราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด
ตำรายาไทย  ใช้  ผลและราก รสฝาดสุขุม แก้ท้องเสีย แก้บิดมูกเลือด แก้อติสาร

ดอกตะลุมพุก
ดอกตะลุมพุก ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว

สรรพคุณทางยาของตะลุมพุก

คุณค่าทางโภชนาการของตะลุมพุก

การแปรรูปของตะลุมพุก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10870&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment