ตะเคียนหนู เนื้อไม้ขัดเงาได้ดีใช้ทำพื้น ทำเครื่องมือทางเกษตร

ตะเคียนหนู

ชื่ออื่นๆ : ตะเคียนหนู (ภาคกลาง) ขี้หมากเปียก หมากเปียก (นครราชสีมา) เบน (พิจิตร ประจวบคีรีขันธ์) เปอเยอ สะเร้า ส่าเราะ (กะเหรี่ยง เชียงใหม่) เหว เหียว (ภาคเหนือ) แหว (ภาคใต้) เอ็นมอญ (เลย) เอ็นลื่น (นครศรีธรรมราช)

ต้นกำเนิด : ป่าดิบแล้ง และขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anogeissus acuminata (Roxb. ex DC.) Guill & Perr. var. lanceolata C.B.Clarke

ชื่อวงศ์ : Combretaceae

ลักษณะของตะเคียนหนู

ต้น เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 15-25 เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีน้ำตาลคล้ำจนถึงน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ทั่วไป เรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปกรวย ทึบ กิ่งก้านหนาแน่น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนจะมีขนยาวๆ นุ่มๆ ทั่วไป

ใบ เป็นใบชนิดใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรูปรีๆ แกมรูปหอก กว้าง 105-2.5 ซม. ยาว 4.5-7 ซม. โคนใบสอบแคบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบค่อนข้างบาง ท้องใบมีขนยาวๆ สีเทาอมเหลืองหรือบทีออกสีเงิน อ่อนนุ่ม ส่วนหลังใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ มี 6-12 คู่ ปลายเส้นไปสุดที่ขอบใบ เส้นใบย่อยเห็นไม่ชัด ขอบใบเรียบ ก้านใบยาวไม่เกิน 5 มม. มีขนแน่น

ดอก ช่อดอกเล็ก สีเหลือง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ช่อจะอัดรวมกันเป็นกลุ่มกลม โตวัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นหลอดเรียว ปลายหลอดผายกว้างแล้วแยกเป็นห้าแฉก ด้านในมีขนยาวๆ ทั่วไป ไม่มีกลีบดอก เกสรตัวผู้มี 10 อัน เรียงตัวเป็นสองวง รังไข่ จมอยู่ใต้โคนก้านหลอดดอก มีเพียงช่อเดียวและมีไข่อ่อน 2 หน่วย

ผล เล็ก รูปรีๆ มีปีกหรือครีบออกทางด้านข้าง 2 ปีก ส่วนบนเป็นติ่งหรือเป็นหางยื่นมีขนคลุมประปราย ผลเหล่านี้จะอัดรวมกันเป็นก้อนกลมโต วัดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 มม.

ต้นตะเคียนหนู
ต้นตะเคียนหนู ใบรูปรี ปลายเรียวแหลม ท้องใบมีขน

การขยายพันธุ์ของตะเคียนหนู

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะเคียนหนูต้องการ

ประโยชน์ของตะเคียนหนู

เนื้อไม้ ขัดเงาได้ดีใช้ทำพื้น ฝา เครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือทางเกษตร เปลือก ให้น้ำฝาดสำหรับฟอกหนัง
ส่วนต่าง ๆ มีสรรพคุณต้านอนุมูลอิสระ และเชื้อแบคทีเรีย

ดอกตะเคียนหนู
ดอกตะเคียนหนู ดอกเป็นช่อสีเหลือง ออกตามซอกใบ

สรรพคุณทางยาของตะเคียนหนู

ยอดอ่อน มีรสฝาดแช่น้ำหรือต้มดื่มแก้อาการท้องร่วง
ใบและกิ่ง ต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย

คุณค่าทางโภชนาการของตะเคียนหนู

การแปรรูปของตะเคียนหนู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11732&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment