ตะแบกเปลือกบาง
ชื่ออื่นๆ : เปลือยล้าน, เปือยขาว, เปือยดง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : ตะแบกเปลือกบาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lagerstroemia duperreana Pierre ex Gagnep.
ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE
ลักษณะของตะแบกเปลือกบาง
ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 25 ม. เปลือกบาง
ใบ ใบรูปรีหรือรูปขอบขนาน ยาว 8–15 ซม. แผ่นใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบย่อยแบบร่างแห ก้านใบยาว 3–5 มม.
ดอก ช่อดอกยาว 10–20 ซม. เกลี้ยง ก้านดอกเทียมยาว 0.6–1.2 ซม. หลอดกลีบเลี้ยงมีขนกระจุกรูปดาวสั้นนุ่ม มี 12 สัน ไม่ชัดเจน ยาว 5–6 มม. มีติ่งขนาดเล็กระหว่างกลีบเลี้ยง กลีบรูปสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 3 มม. ด้านในปลายกลีบมีขน ดอกสีม่วง กลีบดอกรูปรีกว้างเกือบกลม ยาว 1–1.5 ซม. ก้านกลีบยาวประมาณ 5 มม. เกสรเพศผู้วงนอกมี 6–7 อัน รังไข่เกลี้ยง
ผล ผลรูปรีกว้าง ยาว 1.2–1.7 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนช่วงปลายผล
การขยายพันธุ์ของตะแบกเปลือกบาง
ใช้เมล็ด, ตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่ตะแบกเปลือกบางต้องการ
ประโยชน์ของตะแบกเปลือกบาง
- ไม้ใช้ในการทำอุปกรณ์ทางการเกษตร และการก่อสร้าง
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและให้ร่มเงา
สรรพคุณทางยาของตะแบกเปลือกบาง
คุณค่าทางโภชนาการของตะแบกเปลือกบาง
การแปรรูปของตะแบกเปลือกบาง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11047&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th
ภาพ : https://www.flickr.com