ตะโกนา
ชื่ออื่นๆ : โก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) นมงัว (นครราชสีมา) มะโก (ภาคเหนือ) มะถ่านไฟผี (เชียงใหม่)
พญาช้างดำ
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx Kurz
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะของตะโกนา
ต้น ไม้ยืนต้น อายุหลายปี สูงได้ถึง 15 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ กิ่งมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับถึงรูปรี กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 3-12 เซนติเมตร ปลายมน โคนรูปลิ่ม มน หรือตัด ขอบเรียบถึงเป็นคลื่นเล็กน้อยตะโกนา ใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวเกลี้ยง ผิวใบด้านใต้มีขน ใบอ่อนสีเขียวอมน้ำตาล
ดอก ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อ กลีบดอก 4 กลีบ ยาว 8-12 มม. เชื่อมติดกันเป็นรูปโอ่งน้ำ ปลายแยกเป็นแฉกสั้น ๆ เกสรตัวผู้ 14-16 อัน ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอก 4 กลีบ
ผล ผลสีส้มแดง ทรงกลม ผิวมัน ผลสดรูปไข่ ขนาด 1.5-3 ซม. มีขนละเอียดและกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่ 4 กลีบ
การขยายพันธุ์ของตะโกนา
เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง พบกระจายจากพม่าจนถึงภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคตามป่าเบจพรรณแล้ง ป่าละเมาะและทุ่งนา
ธาตุอาหารหลักที่ตะโกนาต้องการ
ประโยชน์ของตะโกนา
- ปลูกเป็นไม้ประดับ ทำไม้ดัด เนื้อไม้ แข็งแรง ใช้ทำเครื่องเรือน
- ผลอ่อน ใช้ย้อมผ้า แห อวน
- ผลสุก ใช้รับประทานได้ มีรสหวานอมฝาด
สรรพคุณทางยาของตะโกนา
- ราก แก้ไข้ บำรุงน้ำนม
- ต้น แก้ไข้ บำรุงน้ำนม แก้ผื่นคัน
- เปลือกต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงความกำหนัด ขับระดูขาว แก้กามตายด้าน ขับปัสสาวะ รักษารำมะนาด แก้ปวดฟัน
คุณค่าทางโภชนาการของตะโกนา
การแปรรูปของตะโกนา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10302&SystemType=BEDO
https://www.kasettambon.com
One Comment