ตาเป็ดตาไก่
ชื่ออื่นๆ : ก้างปลาดง ตับปลา ลังกาสา (เชียงใหม่), จ้ำเครือ (ลำปาง), ลังกาสาขาว (ตราด), ตีนจำโคก (เลย), ประดงนกกด (สุราษฎร์ธานี), ตาเป็ดหิน (ชุมพร), มาตาอาแย (มลายู-ยะลา), ตาไก่ใบกว้าง (ทั่วไป), มหาเฮง (ชื่อทางการค้า), ตีนเป็ด, ตาเป็ดเขา, ตุ้มลงเดี๋ยง
ต้นกำเนิด : พบทั่วทุกภาคในป่าโปร่ง
ชื่อสามัญ : village ardisia, coral berry spiceberry
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ardisia crenata Sims
ชื่อวงศ์ : MYRSINACEAE.
ลักษณะของตาเป็ดตาไก่
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้น สูง 30-100 เซนติเมตร ตั้งตรง สีน้ำตาล
ใบ ใบเดี่ยวรูปหอกปลายใบแหลม โคนใบสอบเรียว ผิวใบเรียบ ขนาด 4.5-7.0 x 14.5-23.0 เซนติเมตร ก้านใบยาว 0.6-1.0 เซนติเมตร
ดอก ขนาดเล็กสีขาวแกมชมพู เป็นช่อกระจุกออกตามยอดและข้างกิ่งช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 6-10 ดอก เมื่อดอกบานเต็มที่จะเห็นกลีบดอก 5 กลีบ แฉกคล้ายดาวมีเกสรยื่นอยู่ตรงกลาง
ผล รูปกลมมน ออกเป็นกระจุก ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลสุกสีแดงผิวมันเมล็ดสีดำมีร่อง ตามแนวยาว
การขยายพันธุ์ของตาเป็ดตาไก่
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ตาเป็ดตาไก่ต้องการ
ประโยชน์ของตาเป็ดตาไก่
- ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด
- ปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมปลูกแพร่หลายมาช้านานแล้ว ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นไม้ประดับประเภทลงกระถางตั้งโชว์ความสวยงามของ “ผล” ที่ห้อยเป็นพวงเต็มต้น โดยเฉพาะช่วงที่ผลสุกจะเป็นสีแดงสดใสสวยงามน่าชมมาก
สรรพคุณทางยาของตาเป็ดตาไก่
- ราก ช่วยให้เจริญอาหาร
- ใบ ต้มน้ำอาบแก้อาการคัน ผื่น ตุ่มตามผิวหนัง
คุณค่าทางโภชนาการของตาเป็ดตาไก่
การแปรรูปของตาเป็ดตาไก่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10681&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com