ตาเสือ เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบ มีสรรพคุณทางยา

ตาเสือ

ชื่ออื่นๆ :  เลาหาง (เชียงใหม่)  ขมิ้นดง (ลำปาง)  เซ่ (แม่ฮ่องสอน) เย็นดง (กำแพงเพชร) ตาปู่ (ปราจีนบุรี) มะยมหางก่าน (บุรีรัมย์) ตุ้มดง (กระบี่)  มะหังก่าน, มะฮังก่าน มะอ้า (ภาคเหนือ)  โกล ตาเสือ (ภาคกลาง)  แดงน้ำ (ภาคใต้) เชือย, โทกาส้า พุแกทิ้ เส่ทู่เก๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน) ยมหังก่าน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : ตาเสือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aphanamixis polystachya (Wall.) R.Parker

ชื่อวงศ์ : MELIACEAE

ลักษณะของตาเสือ

ต้น  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา มีรากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว 30-50 ซม. จากผิวดิน หนาแน่นบริเวณโคนต้น กิ่งอ่อนมีขนสีเทา

ต้นตาเสือ
ต้นตาเสือ เปลือกเรียบ สีชมพูอมเทา

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 20-40 ซม. ขอบใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ไม่สมมาตรกัน ขนาด 3-6 x 8-17 ซม. ปลายใบแหลมถึงมน ฐานใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน

ใบตาเสือ
ใบตาเสือ แผ่นใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวใบด้านบนเป็นมัน

ดอก  ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลืองอ่อนติดกันเป็นรูปคนโท เพศผู้เป็นแบบช่อแยกแขนง ช่อดอกห้อยลง แต่ละดอกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.3-0.4 ซม. ดอกเพศเมียเป็นแบบช่อกระจะ มีดอกจำนวนน้อย วงกลีบเลี้ยงแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอก 3 กลีบ

ผล  ค่อนข้างกลม อวบน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 ซม. มี 3 พลู ผลแก่แห้งแตกกลางพลู เมล็ด มีเยื่ออ่อนนุ่มสีแดงหุ้ม

ผลตาเสือ
ผลตาเสือ ผลกลม อวบน้ำ ผลแก่แห้งแตกกลางพลู

การขยายพันธุ์ของตาเสือ

ใช้เมล็ด

เป็นพรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ด้านในของป่าชายเลน บริเวณน้ำกร่อยตามริมชายฝั่งของแม่น้ำที่ได้รับอิทธิพลจากการขึ้น-ลงของน้ำทะเล

ธาตุอาหารหลักที่ตาเสือต้องการ

ประโยชน์ของตาเสือ

เนื้อไม้ ทำเฟอร์นิเจอร์

สรรพคุณทางยาของตาเสือ

ส่วนที่ใช้ : เปลือกต้น เนื้อไม้ ผล ใบ

  • เปลือกต้น – รสฝาด กล่อมเสมหะ ขับโลหิต
  • เนื้อไม้ – รสฝาด แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย
  • ผล – แก้ปวดตามข้อต่างๆ ในร่างกาย
  • ใบ – แก้บวม

คุณค่าทางโภชนาการของตาเสือ

การแปรรูปของตาเสือ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11668&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment