ตำเสา เป็นไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างที่แข็งแรงและทนทาน

ตำเสา

ชื่ออื่นๆ : กระโอน, โกงกางป่า, ทังไข่ไก่, มะเขือขื่น (ภาคตะวันออกเฉียงใต้) มังตาลแดงเขา, ทังไข่ไก่ (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : มีการแพร่กระจายขึ้นในที่ลุ่มบริเวณขอบพรุและพื้นที่น้ำขังชั่วคราว มีเขตการกระจายทั่วทุกภาค แต่พบมากทางภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาส

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ternstroemia wallichiana (Griff.) Engler

ชื่อวงศ์ : THEACEAE

ลักษณะของตำเสา

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 20-30 เมตร มักแตกกิ่งต่ำ ต้นขนาดเล็ก เรือนยอดแหลมแคบ หรือรูปกรวย ลำต้นตำเสาเปลือกนอกหยาบขรุขระสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องลึกไม่สม่ำเสมอ เปลือกชั้นในสีเหลือง เป็นเสี้ยนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง แผ่นใบบางรูปรีถึงรูปขอบขนาน ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 2.5-4.5 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งเรียวแหลม โคนใบสอบเรียวแคบ ผิวใบเกลี้ยง เส้นใบไม่เด่นชัด ก้านใบยาว 1-2 เซนติเมตร หูใบคล้ายถ้วยขนาดเล็ก ติดที่โคนก้านใบ

ดอก ดอกสีขาวนวล เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนเมื่อแก่ ออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงตามง่ามใบใกล้ยอด กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูปถ้วย

ผล ผลกลมสีส้มถึงแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหนาคล้ายจุกคอร์ก มีเมล็ด 2 – 4 เมล็ด

ผลตำเสา
ผลตำเสา ผลกลมสีส้มถึงแดงเข้ม

การขยายพันธุ์ของตำเสา

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด

ตำเสาเป็นไม้หายาก มีการกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 50–400 ม. ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–มีนาคม ผลแก่เดือนกันยายน–ธันวาคม

ธาตุอาหารหลักที่ตำเสาต้องการ

ประโยชน์ของตำเสา

ตำเสา เป็นไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งที่ใช้ในการก่อสร้างที่แข็งแรงและทนทาน ประชาชนจึงนิยมนำมาใช้ ในการปลูกสร้างบ้านเรือน และทำวัสดุอื่น ๆ และนอกจากนี้ยังใช้ไม้ตำเสาในการทำยาสมุนไพร หลายชนิด เช่น ยาบำรุงธาตุ ยาอายุวัฒนะ แก้หืด ไอ ริดสีดวง ไข้จับสั่น แก้เลือดลม เป็นต้น แก่นของตำเสาใช้เป็นยาผสมแก้กษัย แก้บวมพองตามตัว และใช้ทำยาประดง บำรุงไขข้อ เปลือกใช้ผสมเป็นยาแก้ท้องขึ้น บำรุงธาตุ บำรุงสุขภาพ ตำเสาจึงใช้เป็นยาได้เกือบทุกชนิด และชาวบ้านเชื่อว่าน้ำผึ้งที่กินดอกตำเสา จะมีรสขม ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ มีสรรพคุณเป็นเลิศ

ดอกตำเสา
ดอกตำเสา ดอกสีขาวนวล เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง

สรรพคุณทางยาของตำเสา

คุณค่าทางโภชนาการของตำเสา

การแปรรูปของตำเสา

ตำเสา ถือว่าเป็นไม้ยืนต้นที่สำคัญชนิดหนึ่งของภาคใต้ และนราธิวาส ในทางเศรษฐกิจ ลำต้นใช้ในการจำหน่ายหรือแปรรูปเป็นไม้ ในการจัดจำหน่าย ในการใช้ก่อสร้างและส่วนต่าง ๆ ของลำต้นจะใช้ในการผลิตเป็นตัวยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคอีกด้วย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10814&SystemType=BEDO
http:// www.efloras.org
https://www.flickr.com

Add a Comment