ติ้วส้ม ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้

ติ้วส้ม

ชื่ออื่นๆ : ตาว (สตูล) ติ้วส้ม (นครราชสีมา) ติ้วแดง, ติ้วยาง, ติ้วเลือด (เหนือ) แต้วหิน (ลำปาง) ติ้วเหลือง (เหนือ กลาง) ติ้วขน (กลาง และนครราชสีมา) เตา (เลย)

ต้นกำเนิด : การกระจายพันธุ์ในพื้นที่โล่งและตามชายป่าทั่วทุกภาคของประเทศ ที่ความสูงตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางถึง 600 ม.

ชื่อสามัญ : ติ้วขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jack) Dyer

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของติ้วส้ม

ต้น เป็นไม้ต้น ผลัดใบ สูงถึง 35 ม. โคนต้นมีหนาม เปลือกสีเทาแตกสะเก็ด

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ หรือรูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 1–7 ซม.ยาว 3.5–14 ซม. ปลายใบแหลม หรือเป็นติ่งแหลม บางครั้งมน โคนใบรูปลิ่มกว้าง ถึงเกือบกลม ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5–1.5 ซม.

ดอก สีขาวถึงชมพูอมแดง เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง อกดอกเดือนมีนาคม-กรกฎาคม

ผล รูปกระสวย ยาวกว่ากลีบเลี้ยง 3 เท่า แตกเป็น 3 กลีบ เมื่อแก่ มีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ผลแก่เดือนสิงหาคม-กันยายน

ติ้วส้ม
ติ้วส้ม ใบรูปรีปลายใบมนหรือแหลม

การขยายพันธุ์ของติ้วส้ม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ติ้วส้มต้องการ

ประโยชน์ของติ้วส้ม

  • – ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา
  • ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน

สรรพคุณทางยาของติ้วส้ม

  • แก่นและลำต้น แช่น้ำดื่ม แก้ปะดงเลือด (เลือดไหลไม่หยุด) ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด
  • ยอด ดอก และใบอ่อน เถา รสเบื่อเมาฝาด บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ แก้ประดง ขับลม
  • ยาง ใช้รักษาส้นเท้าแตก
  • ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า
  • รากและใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง
  • ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน
  • น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ
  • เปลือกและใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด

คุณค่าทางโภชนาการของติ้วส้ม

การแปรรูปของติ้วส้ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11838&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment