ตุมตัง กระแจะ
ชื่ออื่นๆ : พญายา(กลาง ราชบุรี) ขะแจะ (เหนือ) ตุมตัง (ตะวันออกเฉียงเหนือ) ตะนาว (มอญ) พุดไทร, ชะแจะ, กระแจะจัน, พินิยา, ฮางแกง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กระแจะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hesperethusa crenulata (Roxb.) Roem.
ชื่อวงศ์ : Rutaceae
ลักษณะของตุมตัง กระแจะ
ต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื้อไม้สีขาว เปลือกต้นสีน้ำตาล ขรุขระ ลำต้นและกิ่งมีหนาม มีหนามแข็ง และยาว หนามออกเดี่ยวหรือเป็นคู่ ตรง ยาวได้ถึง 2.5 เซนติเมตร ไม่ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ลำต้นเปลาตรง แตกกิ่งต่ำ กิ่งก้านตั้งฉากกับลำต้น กิ่งอ่อนและยอดอ่อนเกลี้ยง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว เรียงสลับ ใบย่อย 4-13 ใบ รูปวงรีแกมไข่กลับ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านใบแผ่เป็นปีก ลักษณะเป็นครีบออกสองข้าง เป็นช่วงๆ ระหว่างคู่ใบย่อย โคนและปลายใบสอบแคบ เนื้อใบบางคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายแผ่นหนัง เนียน เกลี้ยง เมื่อส่องดูจะเห็นต่อมน้ำมันเป็นจุดใสๆกระจายอยู่ทั่วไป ขอบใบหยัก เป็นซี่ฟันเลื่อย ตื้นๆ เส้นแขนงใบข้างละ 3-5 เส้น ก้านช่อใบยาวได้ถึง 3 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบย่อย
ดอก ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะ รวมกันเป็นกระจุกตามกิ่งเล็กๆหรือตามซอกใบ มีขนสั้นนุ่ม ดอกสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง กลีบดอกมี 4 กลีบ เมื่อบานจะแผ่ออกหรือลู่ไปทางก้านเล็กน้อย กลีบดอกรูปไข่แกมรูปรี กว้างประมาณ 3 มิลลิเมตร ยาว 7 มิลลิเมตร เกลี้ยง มีต่อมน้ำมันประปราย เกสรตัวผู้มี 8 อัน ยาว 4-6 มิลลิเมตร ยาวเกือบเท่ากันหรือสลับกันระหว่างสั้นกับยาว เกลี้ยง ก้านชูอับเรณูรูปลิ่มแคบ อับเรณูรูปขอบขนานแกมรูปไข่ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปลายเป็นติ่งแหลมสั้นถึงติ่งแหลมอ่อน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ เกือบกลม ยาว 1-2 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมัน เกลี้ยง มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร มีต่อมน้ำมันใต้ยอดเกสรเพศเมีย ยอดเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 5 แฉก จานฐานดอกเกลี้ยง ก้านช่อดอกยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 8-10 มิลลิเมตร เกลี้ยง หรือมีขน กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปคล้ายสามเหลี่ยม กว้าง และยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ปลายแหลม ผิวด้านนอกมีขนละเอียด และมีต่อมน้ำมัน ด้านในเกลี้ยง ออกดอกราวเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม
ผล ผลสด รูปทรงกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร เมื่ออ่อนสีเขียว แก่จัดสีม่วงคล้ำ ก้านผลยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร เมล็ดรูปเกือบกลม กว้างประมาณ 5 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอมส้มอ่อน มี 1-4 เมล็ด พบตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ผลจะแก่ราวเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม
การขยายพันธุ์ของตุมตัง กระแจะ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่ตุมตัง กระแจะต้องการ
ประโยชน์ของตุมตัง กระแจะ
- ชาวพม่า ใช้ เนื้อไม้ นำมาบด ฝน หรือทำให้เป็นผงละเอียด จะมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ใช้ทาผิวหนัง ทำให้ผิวเนียนสวย เป็นส่วนผสมหลักในเครื่องประทินผิวแบบโบราณหลายชนิด
- เนื้อไม้ใช้ผสมในเครื่องหอม ที่เรียกว่า “กระแจะตะนาว” นิยมใช้กันมากในประเทศพม่า
- เนื้อไม้ เมื่อตัดมาใหม่ๆ จะมีสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน ถ้าทิ้งไว้นานๆจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลปนเหลืองอ่อน ชาวพม่านิยมนำมาทำเครื่องประทินผิวเรียกว่า “กระแจะตะนาว” หรือ “Thanatka” ชื่อไม้ชนิดนี้เรียกตามชื่อเทือกเขา “ตะนาวศรี”
สรรพคุณทางยาของตุมตัง กระแจะ
- ใบ รสขมเฝื่อน ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มกิน แก้ลมบ้าหมู
- ราก รสขมเย็น แก้โรคลำไส้ แก้ปวดท้องบริเวณลำไส้ใหญ่ และบริเวณลิ้นปี่ ขับเหงื่อ ฝนกับน้ำสะอาดใช้ทาหน้าแทนแป้งทำให้ผิวสีเหลือง แก้สิวฝ้า เป็นยาถ่าย
- ผล มีรสขมเฝื่อน แก้พิษ แก้ไข้ แก้อาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืดเฟ้อ เป็นยาบำรุงกำลัง ยาบำรุงร่างกาย
- ผลสุก แก้ไข้ เป็นยาสมานแผล ยาบำรุง ช่วยเจริญอาหาร แก่น รสจืด เย็น ดองเหล้ากินแก้กษัย (การป่วยที่เกิดจากหลายสาเหตุ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม ซูบผอม โลหิตจาง) บำรุงเลือด แก้กระษัย แก้โลหิตพิการ ดับพิษร้อน แก้ไข้ แก้ผอมแห้ง
- เปลือกต้น มีรสขม ใช้แก้ไข้ ขับผายลม บำรุงดวงจิตให้แช่มชื่น
ยาพื้นบ้าน ใช้ ต้น ต้มน้ำดื่มครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น แก้ปวดตามข้อ ปวดเมื่อย เส้นตึง แก้ร้อนใน แก้โรคประดง (อาการโรคผิวหนังมีผื่นคัน เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด คันมาก มักมีไข้ ร่วมด้วย)
คุณค่าทางโภชนาการของตุมตัง กระแจะ
การแปรรูปของตุมตัง กระแจะ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11518&SystemType=BEDO
www.flickr.com