ต้นกง บากง ไม้ล้มลุก มีไหลลอยน้ำได้

กง

ชื่ออื่นๆ :  กง (นครศรีธรรมราช) บากง  (มลายูใต้, มลายู, นราธิวาส) ปรง  (ภาคกลาง, สมุทรสาคร ) ปรง  ปัตตานี

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Common Susum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hanguana malayana (Jack) Merr.

ชื่อวงศ์ : HANGUANACEAE

ลักษณะของกง

ต้น  ไม้ล้มลุก เมื่อโตเต็มที่อาจสูงถึง 2 เมตร มีไหลลอยน้ำได้

ใบ  ใบรูปหอกเรียว ยาว 20-120 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาว โคนใบรูปลิ่ม  แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบเรียงขนานกัน มีเส้นแขนงใบย่อยตัดขวางจำนวนมาก กาบใบยาวหุ้มลำต้น ก้านใบช่วงล่างยาวกว่าช่วงปลายต้น

ต้นกง
ต้นกง ไม้ล้มลุก มีไหลลอยตามน้ำ

ดอก  ดอกของกงจะออกเดี่ยว ๆ หรือเป็นกระจุกเล็ก ๆ บนช่อแยกแขนง มีกลีบรวม 6 กลีบ วงนอก 3 กลีบ ยาว 2-2.5 มิลลิเมตร วงใน 3 วงยาวกว่าวงนอกเล็กน้อย มีสีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว มีจุดสีแดงด้านใน เกสรเพศผู้ติดอยู่ที่โคนกลีบรวม ยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันขนาดเล็กในดอกเพศเมีย เกสรเพศเมียติดทน ส่วนผล เมื่อสุกจะมีสีแดง รูปรี ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร

ดอกกง
ดอกกง สีเหลืองอมเขียวหรือสีขาว

ผล  รูปกระสวยแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน เมื่อสุกจะมีสีแดง  เมล็ดมี 1 เมล็ด

ผลกง
ผลกง ผิวเรียบ ผลสุกสีแดง

การขยายพันธุ์ของกง

การใช้ไหล

ประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ ขึ้นในน้ำตามลำห้วย ป่าพรุ ที่ชื้นแฉะ หรือขึ้นตามพื้นดินที่ลาดชันในป่าดิบชื้น ขึ้นตั้งแต่ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 700 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่กงต้องการ

ประโยชน์ของกง

ปลูกเป็นไม้ประดับ

สรรพคุณของกง

รากนำมาต้ม ใช้อมกลั้วคอเมื่อมีไข้

คุณค่าทางโภชนาการของกง

การแปรรูปกง

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.sc.sci.tsu.ac.th, www.th.wikipedia.org
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment