ต้นขี้เหล็ก ดอกขี้เหล็กดอกเหลืองช่อใหญ่ สรรพคุณ ประโยชน์ ของขี้เหล็ก

ต้นขี้เหล็ก

ชื่ออื่นๆ : ขี้เหล็กบ้าน

ต้นกำเนิด : เดิมเป็นไม้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับจากหมู่เกาะต่างๆ ของอินโดนีเซีย ไปจนถึงศรีลังกา  ในประเทศไทยพบแทบทุกจังหวัด

ชื่อสามัญ : ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง สุราษฎร์ธานี) ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กเผือก (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ยะหา (มาเลเซีย ปัตตานี) ผักจี้ลี้ (ฉาน แม่ฮ่องสอน) แมะขี้เหละ- พะโคะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

ชื่อวงศ์ : Fabaceae (Leguminosae)

ลักษณะของต้นขี้เหล็ก

ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 4 ซม.ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลแกมเขียว ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นฝัก แบบยาวและหนา ต้นขี้เหล็กเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงปานกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 8-15 เมตรลำต้นมักคดงอเป็นปุ่มเปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลดำยอดอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบประกอบเป็นแบบขนนก เรียงสลับกัน มีใบย่อย 5-12 คู่ ปลายสุดมีใบเดียว ใบย่อยรูปขอบขนานด้านบนเกลี้ยงดอกช่อสีเหลืองอยู่ตามปลายกิ่ง ดอกจะบานจากโคนช่อไปยังปลายช่อ กลีบเลี้ยงมี 3-4 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้10 อันผลเป็นฝักแบนยาวมีสีคล้ำ เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20-30 เมล็ด เนื้อไม้มีสีน้ำตาลแก่เกือบดำ ส่วนของดอกและใบขี้เหล็กใช้เป็นอาหารในหลายประเทศ เช่น ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย เป็นต้น

ใบขี้เหล็ก
ใบขี้เหล็ก ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ

การขยายพันธุ์ของต้นขี้เหล็ก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นขี้เหล็กต้องการ

ประโยชน์ของต้นขี้เหล็ก

ดอกตูม ยอดอ่อน นำมาประกอบอาหาร ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องผูก ช่วยให้หลับสบาย เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน รากแก้ไข้ บำรุงธาตุ แก้โรคเหน็บชา ลำต้นและกิ่งเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ทั้งต้น เปลือกต้นแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาอายุวัฒนะ กระพี้บำรุงโลหิต แก่นเป็นยาระบาย แก้เบาหวาน ลดความดัน ช่วยให้นอนหลับ ดอกแก้หืด ขับพยาธิ

ดอกขี้เหล็ก
ดอกขี้เหล็ก ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อ

สรรพคุณทางยาของต้นขี้เหล็ก

  • ใบ รสขม ถ่ายพรรดึก ถ่ายกระษัย ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว แก้นิ่ว ตำพอกแก้เหน็บชา แก้บวม บำรุงโลหิต ดับพิษโลหิต ดองสุราดื่มก่อนนอน แก้นอนไม่หลับ
  • ใบอ่อน, ดอกตูมและแก่น -มีสารกลุ่มแอนทราควิโนนหลายชนิดจึงมีฤทธ์ เป็นยาระบาย ใช้ใบอ่อนครั้งละ 2-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 1-1.5 ถ้วย เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว นอกจากนี้ยังพบสารซึ่งมีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ทำให้นอนหลับ โดยใช้วิธีนำมาดองเหล้า ดื่มก่อนนอน
  • ดอก รสขม แก้โรคประสาท แก้นอนไม่หลับ แก้หืด แก้รังแค เป็นยาระบาย
  • ฝัก รสขม แก้ไข้พิษเพื่อปิตตะ ไข้เพื่อเสมหะ เปลือกฝัก รสขมเฝื่อน แก้เส้นเอ็นตึง แก้กระษัย
  • เปลือกต้น รสขม แก้กระษัย แก้ริดสีดวงทวาร กระพี้ รสขมเฝื่อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้เพื่อดี แก้กระษัยเส้นเอ็น แก่น รสขมเฝื่อน ถ่ายพิษถ่ายเส้น ถ่ายม้าม แก้กระษัย แก้เหน็บชา แก้ไข้เพื่อกระษัย ขับโลหิต แก้เตโชธาตุพิการ ทำให้ตัวเย็น แก้แสบตา แก้กามโรค หนองใส ราก รสขม แก้ไข้ แก้ไข้กลับ ไข้ช้ำ รักษาแผลกามโรค
ฝักขี้เหล็ก
ฝักขี้เหล็ก ฝักแบนยาวมีสีคล้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของต้นขี้เหล็ก

การแปรรูปของต้นขี้เหล็ก

นิยมปลูกประดับเพื่อให้ร่มเงา  ยอดอ่อนและช่อดอกเก็บกินได้ตลอดปี มีมากช่วงปลายฤดูฝน ต้มจิ้มน้ำพริกหรือทำเป็นแกงต่าง ๆ อาทิ แกงขี้เหล็กใส่ปลาย่าง แกงขี้เหล็กใส่ใบย่านางแกงเลียงของชาวใต้ แกงบวนของชาวเหนือ  ดอกตูมและใบอ่อนมีรสขม มีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อน ๆ คนโบราณนิยมใช้ใบขี้เหล็กมาบ่มมะม่วง  รากขี้เหล็กช่วยตรึงไนโตรเจนทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9241&SystemType=BEDO
https:// th.wikipedia.org
http:// trees4school.hsw.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment